การรถไฟฯดับเครื่องชนลั่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิเขากระโดง105ปีก่อน
กรณีนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน อุทธรณ์คำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ที่ทับซ้อนกันกับที่ดินของการถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคัดค้านมติคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยหากการรถไฟฯเห็นว่า มีสิทธิ์ในที่ดินกว่าก็จะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิ์ในกระบวนการยุติธรรม
เนื้อหาในหนังสือของการรถไฟซึ่งอุทธรณ์คำสั่งฯส่งถึงอธิบดีกรมที่ดิน ลงวันที่ 12 พ.ย.2567 มีความยาว 20 หน้า
นอกจากเห็นว่า คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและมติของคณะกรรมการสอบสวนเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนรวมถึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบแล้ว
การรถไฟฯยังได้แสดงพยานหลักฐานประกอบข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งแล้วว่า ที่ดินตามเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินตามจำนวนแปลงที่ระบุไว้ในคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน บริเวณทางแยกเขากระโดง เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ โดยผ่านการตรวจสอบและใช้อ้างอิงยืนยันได้ ดังนี้
1.การคัดค้านการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของกรมที่ดินและจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือ ที่ บร 0011/13853 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 เสนอข้อหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่อธิบดีกรมที่ดินได้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินริเวณเข้ากระโดงให้แก่ราษฎรบางราย แต่การรถไฟอ้างว่า ที่ดินเป็นที่ดินของการรถไฟฯซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาโดยพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8พ.ย.2562 ย่อมถือได้ว่าที่ดินตามแผนที่เพื่อใช้ในกิจการรถไฟโดยชอบด้วยกฎหมาย
2.ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876 / 2560 และคำพิพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 สรุปความได้ว่า จากแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟจากเส้นทางแยกเขากระโดงเพื่อนำหินไปใช้ก่อสร้างในทางรถไฟสายหลัก บริเวณกิโลเมตรที่ 375+650 มีความยาวแยกออกไป 8 กิโลเมตร การรถไฟฯ เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2462 ขณะนั้นประเทศไทยใช้ระบการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งที่ดินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินในบริเวณพิพาทข้างต้นเป็นของพระมหากษัตริย์ (รัชกาลที่ 6) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ก่อนเกิดเหตุคดีนี้นานกว่า 90 ปี จึงเชื่อว่าที่ดินตามแผนที่ซึ่งมีความยาว 8 กิโลเมตร และความกว้างตามที่ระบในแผนที่ คิดเป็นพื้นที่ 5,083 ไร่ 80 ตารางวา เป็นที่ดินที่ข้าหลวงพิเศษซึ่งเคยได้รับแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2562
3.ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานตามที่ปรากฏจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3 คดี หมายเลขดำที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 112/2563 ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์กับนายวิรัตน์ วงศ์พิพัฒน์ชัย ที่ 1 กับพวกรวม 4คน จำเลย ซึ่งคำพิพากษาระบุไว้ตอนหนึ่งว่า
"เห็นว่า ตามพระราชกฤษฎีกา เอกสารหมาย จ.9 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึง อุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8พฤศจิกายน2562 และลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 หมายถึงการยกเลิก
การสงวนหวงห้ามที่ดินซึ่งเป็นของเอกชนในส่วนอกเขตแนวที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อเท่านั้น มิใช่
การยกเลิกการหวงห้ามทั้งหมด
และเมื่อกรมรถไฟแผ่นดินเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดงและบ้านตะโก ทั้งยังใช้วัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานีด้วย"ย่อมถือว่าที่ดินและที่ดินพิพาท ตามแผนที่กรมรถไฟแผ่นดินฯ เอกสารหมาย จ.7 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8พ.ย.2562 อันเป็นที่ดินที่จัดหามาเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟไฟโดยด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในความหมายของคำว่า ที่ดินรถไฟ ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช2464 มาตรา 3 (2) ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟแผ่นดิน ตามมาตรา 25 และได้รับ ความคุ้มครองตามมาตรา 6 (1) และ (2)"
4.มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรายงานการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกล่าวหา เลขดำที่ 519910034เรื่องกล่าวหาแดงที่ 14999054 ลงวันที่ 12 กันยายน2554 โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือ ลับ ที่ ปช008 ลงวันที่ 14 กันยายน 2254 แจ้งไปยังกรมที่ดินว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีมตีให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 34666 และเลขที่ 8564 เนื่องจากออกทับที่ดินของการรถไฟฯ
5.ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดง ที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2566 ระหว่างการรถไฟฯ ผู้ฟ้องคดี กรมที่ดินผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อธิบดีกรมที่ดินผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2วินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟฯ ในบริเวณเขากระโดงไว้ตอนหนึ่งว่า
เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-867/2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และคำพิพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำ ที่ 111/2563คดีหมายเลขแดงที่ 1112/253 ได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟ แผ่นดินสาย โคราช - อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+640 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่
8 พ.ย.2462 เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟจึงถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ฟ้องคดี และถือเป็นที่ดินของรัฐประเภทหนึ่ง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองและป้องกันที่ดินบริเวณดังกล่าวอีกทั้งที่ดินบริเวณที่ศาลมีคำพิพากษากล่าวอ้างถึงมีฐานะเป็นที่ดินของรัฐซึ่งสามารถใช้จัดทำบริการสาธารณะให้แก่แก่ประชาชนโดยทั่วไปได้ และเมื่อที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการถไฟแฟแห่งประเทศไทยแล้ว คำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินอันเป็นคุณแก่การรถไฟฯ ซึ่งเป็นคู่ความในคดี ย่อมใช้ยืนยันแก่บุคคลภายนอกได้
แหล่งที่มา
หนังสือการรถไฟฯอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการสอบสวนกรมที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกา 8027/2561
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.