นิด้าโพล เย้ย เพื่อไทย ไม่ชนะเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ใช่พรรคผู้นำเปลี่ยนแปลง

วันที่21เม.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทบาทของทักษิณ ชินวัตร และความเป็นไปได้ ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย จากความเคลื่อนไหว ของทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางลบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางบวกต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 6.64 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวที่ว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคผู้นำในการเปลี่ยนแปลง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.47 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 18.85 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 17.94 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และร้อยละ 8.01 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ ร้อยละ 21.14 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ ร้อยละ 12.82 ระบุว่า เป็นไปได้มาก และร้อยละ 3.82 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.34 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.44 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.11 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.45 สมรส และร้อยละ 2.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 22.44 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 38.24 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.32 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.11 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.89 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.70 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.07 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.46 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.03 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.90 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.94 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.03 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.08 ไม่ระบุรายได้

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.