'จุลพันธ์'ลั่นไม่ลดเงื่อนไขแจกเงินดิจิทัลเดินเต็มสูบกระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่อาคารรัฐสภา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ยังไม่ได้รับรายงานความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อกรณีนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000บาทอย่างเป็นทางกาแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ แม้จะเป็นการให้ความเห็นตามหน้าที่ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่กฎหมายกำหนดให้"แค่การให้ความเห็น"เพื่อป้องกันการทุจริต แต่ความเห็นดังกล่าว"เป็นเหมือนการท้วงติง"ที่เกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช.
อย่างไรก็ตามหากเอกสารฉบับทางการมาถึงรัฐบาล ก็จะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งบางประเด็นตอบได้ง่ายอาจเป็นเพราะความไม่เข้าใจ หรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนของป.ป.ช. ทั้งแหล่งที่มาของเงินเปลี่ยนจากงบประมาณเป็นพ.ร.บ.กู้เงิน และการใช้ระบบบล็อคเชนในการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถชี้แจงได้ซึ่งในการประชุมจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริต อนุกรรมการ รับฟังความคิดเห็นในสังคมและรับฟังความเห็นเพิ่มเติม และคณะอนุกรรมการดูแลด้านการเงิน และระบบต่างๆ
ทั้งนี้ นายจุลพันธ์ ยังยืนยันว่ากลุ่มเป้าหมายโครงการแจกเงินดิจิทัล10,000 บาท ยังคงเป็นกลุ่มเดิม ดูเหมือนจะนำเสนอว่าในความเห็นของป.ป.ช. ที่เสนอให้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน ต้องขอชี้แจงว่าปัจจุบันได้เปลี่ยนรัฐบาลแล้ว และกลไกของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาและกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เป็นเพียงแค่การหยอดน้ำข้าวต้ม แต่จำเป็นต้องมีกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ครั้งนี้ออกมา พร้อมย้ำว่าแนวคิดในการทำนโยบายเป็นของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนในขณะที่บางหน่วยงานไม่จำเป็นต้องตอบรับต่อเสียงสะท้อนของประชาชน หากเศรษฐกิจดำดิ่งยิ่งกว่าในปัจจุบันคนที่รับผิดชอบคือรัฐบาล จึงต้องแสดงความชัดเจนรัฐบาลมีหน้าที่ในการเดินหน้านโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และบรรจุเป็นนโยบายแห่งรัฐ โดยเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ทั้งนี้ยังไม่ขอยืนยันว่าจะเริ่มแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ได้เมื่อไหร่ พอกันไปกับเกณฑ์แล้วทำไม่ได้จะไม่เป็นผลดี แต่ขอยืนยันว่าเดินหน้าโครงการแน่นอน
ส่วนที่ป.ป.ช.ขอให้ กกต.ตรวจสอบการดำเนินโครงการแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทของรัฐบาล อาจไม่ตรงกับแนวนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 นายสุรพันธ์ เปิดเผยว่า ไม่รู้จะกังวลในเรื่องนี้เพราะนะรัฐบาลที่แล้วแทบจะไม่มีการทำตามนโยบายเลย ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็เคยท้วงติ่งในเรื่องนี้ ในส่วนรัฐบาลปัจจุบันอย่างน้อยก็ได้ทำตามนโยบายที่ได้บอกไว้แม้รูปแบบจะเปลี่ยนบ้าง และในนโยบาย ที่พรรคการเมืองนำส่งกกต. จะมีการ ระบุไว้ว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เศรษฐกิจและสังคม เพราะเมื่อความเหมาะสมเปลี่ยน ซึ่งขณะนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวไม่ใช่นโยบายของพรรคการเมือง แต่เป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งประกอบขึ้นจากพรรคการเมืองหลายพรรค จะยึดนโยบายของพรรคใดพักหนึ่งไม่ได้ จำเป็นต้องนำมาผสมผสานเพื่อให้เกิด ความลงตัวและเดินหน้าได้
ส่วนที่มีนักร้องเตรียมจะยื่นเรื่อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลเดินหน้าโครงการแจกเงินดิจิตอล wallet 10,000 บาทนั้น นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ประเทศไทยนักร้องเยอะอยู่แล้ว เชื่อว่าอย่างไรก็มีคนหยิบยกเรื่องนี้ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและต้องการให้รัฐบาลเดินหน้าต่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลก็จะเดินหน้าขอย้ำว่าโครงการดังกล่าวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่การสงเคราะห์
"ศิริกัญญา"ประกาศสกัดทุกทางเร่งสรุปนิยาม“วิกฤตเศรษฐกิจ”
ที่อาคารรัฐสภา นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้ความเห็น ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องตัดสินใจได้แล้ว และเชื่อว่าหากเป็นมติของคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตจะดีที่สุด เพราะจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า หลังหยุดชะงักงันมานาน ขณะนี้ไม่มีใครไม่เห็นด้วยว่าเศรษฐกิจไม่ดี แต่จะเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่ต้องมีการพูดคุย ที่แน่ๆยังไม่มีมาตรการต่างๆมากระตุ้น เนื่องจากรัฐบาลใจจดใจจ่อกับดิจิทัลวอลเล็ตเพียงอย่างเดียว ทำให้โครงการอื่นล่าช้าออกไป ส่งผลต่อการฟื้นคืนเศรษฐกิจ
ส่วนประเทศขณะนี้ วิกฤต หรือไม่ ในคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกฤษฎีกา ควรสามารถตกลงนิยามคำว่า วิกฤต ได้แล้วว่า สามารถออก พ.ร.บ.กู้เงินให้กระทรวงการคลัง ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่
นางสาวศิริกัญญากล่าวว่า ได้เตือนมาตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้นหากเดินลุยไฟออกเป็นพระราชบัญญัติกู้เงินก็สุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตาม สามารถไว้ใจพรรคก้าวไกลได้ว่า จะไม่ร้ององค์กรอิสระอย่างแน่นอน เพราะไม่ต้องการให้องค์กรอิสระเข้ามาแทรกแซง แต่ต้องการให้สภาเป็นผู้ตัดสินใจมากกว่า โดยจะอภิปรายเพื่อให้ประชาชนรับทราบ และหากเสียงข้างมากลงมติให้ผ่านความเห็นชอบ ก็ห้ามไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นสารตั้งต้น ให้มีคนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.