DSI ย้ำรับโอนคดีGGCทุจริตซื้อน้ำมันปาล์มดิบตามกฎหมาย

ตามที่ปรากฏข่าวในโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 กล่าวหาว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ "แย่งคดี ปอศ. ช่วยแก๊งสวาปาล์ม" กรณีรับโอนคดีกล่าวหาผู้บริหารของบริษัทโกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) กระทำความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรั พย์ พ.ศ. 2535 จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาดำเนินการเสียเองทั้งที่คดีใกล้จะเสร็จจนมีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาและเตรียมสรุปสำนวนการสอบสวนแล้วนั้น

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เผยแพร่เอกสารข่าวผ่านทางเว็บไซต์ ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปรากฎข่าวในโซเชียลมีเดีย  เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566  กล่าวหาว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ"แย่งคดี ปอศ. ช่วยแก๊งสวาปาล์ม" กรณีรับโอนคดีกล่าวหาผู้บริหารของบริษัทโกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) กระทำความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาดำเนินการเสียเองทั้งที่คดีใกล้จะเสร็จจนมีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาและเตรียมสรุปสำนวนการสอบสวนแล้วนั้น

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้แจงว่า การรับโอนคดีเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547  

1.เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 บริษัทโกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC)ได้เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมท างเศรษฐกิจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวหาให้ดำเนินคดีอาญากับผู้บริหารของบริษัทโกลบอล กรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ( GGC) ฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีตรวจพบหลักฐานว่าระหว่างปี พ.ศ.2557 - พ.ศ.2561 ได้กระทำการทุจริตสั่งซื้อน้ำมันปาล์มดิบแล้วออกใบรับสินค้าโดยยังไม่ได้รับสินค้าทำให้บริษัท โกลบอลกรีนฯ จ่ายเงินค่าสินค้าให้กับบริษัทคู่ค้ามีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 2,078,760,000 บาท โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้รับคดีอาญาดังกล่าวไว้ทำการสอบสวน

2. ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์ได้มีหนังสือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำเนินคดีอาญากับผู้บริหารของบริษัทโกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด(มหาชน) (GGC) และผู้เกี่ยวข้อง เนื่องจากตรวจสอบพบพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่า กรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารของบริษัท โกลบอลกรีนฯ ในขณะเกิดเหตุ กระทำการเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นมีข้อเท็จจริงแห่งคดีเดียวกัน จึงรวมการสอบสวนเป็นสำนวนการสอบสวนเดียว

3. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้มีหนังสือลงวันที่11 ตุลาคม 2566 ถึงอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่งเรื่องตามข้อ 1 และข้อ 2 มาเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากได้มีประกาศคณะกรรมการคดีพิเศษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2565  เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง ( 1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ.2547 ข้อ 4 ประกอบบัญชีท้ายประกาศฯ ข้อ 11 กำหนดให้คดีความผิดที่มีโทษตามมาตรา 281/2วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความสุจริต จนเป็นเหตุให้บริษัทเสียหาย) กรณี ที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป ที่มีความซับซ้อนหรือมีผลกระทบต่อประเทศในมิติต่างๆ ตามที่กำหนดในมาตรา 21 ของกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษที่จะมี
คำสั่งให้ทำการสอบสวนเป็นคดีพิเศษ

4.รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ พิจารณาพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงต่างๆ จากสำนวนการสอบสวนของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและที่เจ้าห น้าที่รวมรวมเพิ่มเติมตามที่เสนอมาแล้วเห็นว่ามีเหตุตามกฎหมายเนื่องจากปรากฏมูลค่าความเสียหายถึง 2,078, 760,000 บาท และเป็นคดีที่มีความซับซ้อนมีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ จึงมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566ที่ผ่านมาให้ทำการสอบสวนคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษที่ต้องสืบสวนและสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

อนึ่ง ภายหลังจากมีการส่งมอบสำนวนการสอบสวนเป็นที่เรียบร้อย ข้อบังคับกรรมการคดีพิเศษว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ในคดีพิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2547 กำหนดให้ต้องมีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างพนักงานสอบสวนผู้ทำการสอบสวนมาแต่เดิมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับรายละเอียดที่ได้ดำเนินการไปแล้วเพื่อให้เกิดการประส านความร่วมมือ รวมทั้งตามมาตรา 22 วรรคท้ายของกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ ยังกำหนดให้สำนวนการสอบสวนที่ส่งมอบมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษ จึงทำให้พยานหลักฐานทุกประการที่ดำเนินการมาแล้วต้องถูกนำมาประกอบการพิจารณาจนตลอดกระบวนการยุติธรรม อันเป็นกระบวนการตามขั้นตอนของกฎหมายทุกประการ 

ในทางกลับกันหากพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระ ทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจยังทำการสอบสวนต่อไปโดยไม่ส่งมอบมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ย่อมเป็นการสอบสวนที่ปราศจากอำนาจตามกฎหมาย เป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลไปด้วย เนื่องจากคดีพิเศษจะต้องสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

และหากต่อมาการสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษพบว่าเป็นคดีที่มีการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะ"พนักงานสอบสวน" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องดังกล่าว จะเป็นผู้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป จึงจำเป็นต้องชี้แจงและสื่อสารมายังสาธารณชนเพื่อทราบโดยทั่วกัน.

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.