นิด้าโพลกางผลสำรวจพรรคประชาธิปัตย์ภาค2ชี้เกือบ30%เชียร์มาดามเดียร์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เรื่องวุ่น ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ ภาค 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเรื่องวุ่น ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.53 ระบุว่า ไม่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ รองลงมา ร้อยละ 35.80 ระบุว่า เคยเลือก แต่ไม่ได้เลือกในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. 2566 ร้อยละ 12.52 ระบุว่า เคยเลือก รวมถึงในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. 2566 และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ยังไม่เคยไปเลือกตั้งเลย
ด้านสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ยืนหยัดในการเมืองไทยได้จนถึงปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.62 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีแฟนคลับ/ฐานทางการเมืองที่มั่นคง เช่น ฐานในภาคใต้ รองลงมา ร้อยละ 30.92 ระบุว่า ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีศักยภาพในการนำพรรคฯ ร้อยละ 26.41 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความเป็นสถาบันทางการเมืองที่มั่นคง ร้อยละ 22.60 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีอุดมการณ์ชัดเจนในการต่อสู้กับระบบเผด็จการ และการคอร์รัปชัน ร้อยละ 20.08 ระบุว่า สส. หรือแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญทางการเมือง ร้อยละ 9.16 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีวัฒนธรรมความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคฯ ร้อยละ 3.21 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีเจ้าของ และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ควรทำเพื่อที่จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.50 ระบุว่า ปฏิรูปพรรคฯ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองไทยในปัจจุบัน รองลงมา ร้อยละ 35.65 ระบุว่า เลือกหัวหน้าพรรคที่มีศักยภาพในการนำพรรคฯ ร้อยละ 17.94 ระบุว่า คัดสรรตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคฯ ที่มีคุณภาพทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ร้อยละ 17.79 ระบุว่า แสดงบทบาทการเป็นฝ่ายค้านที่มีศักยภาพ ร้อยละ 15.34 ระบุว่า เชิญอดีตแกนนำพรรคฯ ที่ออกจากพรรคไปแล้วให้กลับเข้ามาช่วยฟื้นฟูพรรคฯ ร้อยละ 13.51 ระบุว่า สร้างความเป็นเอกภาพภายในพรรคฯ ร้อยละ 8.09 ระบุว่า เข้าร่วมรัฐบาลเพื่อสร้างผลงาน ร้อยละ 7.94 ระบุว่า เลือกเลขาธิการพรรคฯ ที่มีความสามารถในการบริหารพรรคฯ และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนต่อไป พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 28.32 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 2 ร้อยละ 27.10 ระบุว่าเป็น น.ส.วทันยา บุนนาค (มาดามเดียร์) อันดับ 3 ร้อยละ 20.46 ระบุว่าเป็น นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อันดับ 4 ร้อยละ 9.39 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันดับ 5 ร้อยละ 7.94 ระบุว่าเป็น นายนราพัฒน์ แก้วทอง อันดับ 6 ร้อยละ 6.03 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 0.76 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อพรรคประชาธิปัตย์หลังการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคฯ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.11 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์จะมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 24.58 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์จะอยู่กันต่อไป แบบบรรยากาศมาคุ (อึดอัด อึมครึม) ร้อยละ 18.39 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์จะแตกแยก โดยมีบางส่วนย้ายออกจากพรรคฯ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่สามารถเลือกหัวหน้าพรรคฯ/เลขาธิการพรรคฯ ได้ และร้อยละ 5.65 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.17 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.83 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 94.43 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.27 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.30 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.82 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.04 สมรส และร้อยละ 2.14 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.34 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.71 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.10 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.16 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.53 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.07 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.64 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.54 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.11 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.59 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.97 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.00 ไม่ระบุรายได้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.