17 อาการคนท้อง เช็กอาการเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ท้องแน่นอน
การตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน ในระยะเริ่มแรก 1-2 สัปดาห์ หรือ ท้องในเดือนแรก จะมีสัญญาณและอาการหลายประการของการตั้งครรภ์ อาการทั่วไป ได้แก่ ขาดประจำเดือน คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ปวดหัว และเหนื่อยล้า ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ คัดเต้านม และความรู้สึกไวต่อกลิ่น หากมีอาการเหล่านี้ท้องรึยัง? ลองสังเกตุตัวเองกันว่าเรากำลังตั้งครรภ์หรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์เมื่อมีอาการต่างๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ แต่บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ เลย จนกว่าอายุครรภ์จะถึง 6 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น วันนี้เราจึงรวบรวม อาการคนท้อง เบื้องต้นในระยะเริ่มแรก 1-2 สัปดาห์ มาแบ่งปันให้คุณแม่ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ
อาการคนท้อง
อาการคนท้อง ถ้ามีอาการเหล่านี้ ท้องแน่นอน
-
ประจำเดือนขาด
โดยปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาในระยะ 21-35 วัน และจะมาในเวลาใกล้เคียงกันในทุกๆ เดือน แต่ถ้าหากว่า มีอาการประจำเดือนขาด สำหรับคนที่ประจำเดือนมาปกติถ้าประจำเดือนที่เคยมาเป็นปกติขาดหายไป รอแล้วรอเล่าไม่มาสักที แสดงว่าคุณอาจจะกำลังมีการตั้งครรภ์ เพราะหลังจากการปฏิสนธิแล้ว ประจำเดือนจะขาดหายไป แนะนำให้ไปซื้อเครื่องตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจ -
มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ จึงทำให้มีการหลั่งของพวกสารต่างๆ รวมทั้งมีตกขาวในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นช่วงที่มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องหมั่นดูแลเรื่องความสะอาดให้ดี จะต้องล้างและซับให้แห้งสนิททุกครั้ง แต่ไม่ต้องใช้น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้นแต่อย่างใด เพราะอาจไปฆ่าเชื้อดีๆ ที่ช่วยป้องกันเชื้อร้ายออกไปได้ และที่สำคัญห้ามสวนล้างช่องคลอดเด็ดขาด
-
เหนื่อยง่ายหายใจถี่
เนื่องจากตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในท้องของคุณแม่นั้นมีความต้องการออกซิเจนจากคุณแม่ จึงทำให้คุณแม่หายใจถี่และรู้สึกเหนื่อยได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีแรงกดดันต่อปอดและกระบังลมของคุณแม่ไปด้วย
-
มีอาการเริ่มคัดเต้านม
ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่อาจมีอาการคัดเต้านม ซึ่งจะมีความคล้ายกับตอนมีประจำเดือน และสามารถสังเกตเห็นได้ว่าเต้านมจะมีขนาดใหญ่ รู้สึกหนัก รอบหัวนมจะมีสีคล้ำกว่าเดิม และบริเวณผิวหนังของเต้านมจะบางลงจนมองเห็นหลอดเลือดดำได้อย่างเด่นชัดมาก แต่อาการคัดเต้านมอาจลดน้อยลงหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน
-
รู้สึกเมื่อยล้าได้ง่าย
การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกจะทำให้คุณแม่รู้สึกเมื่อยล้าได้ง่าย พร้อมทั้งมีอาการอ่อนล้าและหมดแรง แต่อาการคนท้องลักษณะนี้จะดีขึ้นเมื่ออายุตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สอง
-
เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือ แพ้ท้อง
โดยปกติเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการนี้จะดีขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สอง แต่ในบางรายจะพบกับอาการคนท้องดังกล่าวตั้งแต่รอบเดือนหายไป
-
ปัสสาวะบ่อย
เนื่องจากร่างกายที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์จะมีการสร้างของเหลวมากขึ้นกว่าเดิม และเลือดเกิดการไหลเวียนมากขึ้น นั่นจึงส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย
-
อาจจะปวดหัวได้เป็นบางเวลา
อาการปวดหัวถือเป็นหนึ่งในอาการคนท้องที่ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้ ซึ่งฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของการใช้ยาคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
-
เริ่มมีอาการปวดหลัง
อาการปวดหลังคืออาการคนท้องที่เกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งศูนย์กลางของการทรงตัวของคุณแม่เปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลให้การยืน นั่ง หรือเดินเปลี่ยนแปลงไปด้วย
-
ปวดเกร็งในช่องท้อง
ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะมีอาการปวดเกร็งในช่องท้องคล้ายกับตอนปวดประจำเดือน และหากมีอาการปวดหน่วงๆ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการขยายตัวของมดลูก
-
เริ่มต้นช่วงแรกจะมีอาการอยากกินอาหารรสเปรี้ยว
ความอยากอาหารของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่จะต้องการอาหารรสเปรี้ยว และมักจะมีอาการคลื่นไส้เมื่อได้กลิ่นปลา
-
มีอาการท้องผูก
ฮอร์โมน progesterone จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้อาหารย่อยได้ช้าและมีแก๊สอยู่ในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการท้องผูกได้อีกด้วย
-
อารมณ์เสียง่าย หงุดหงิดได้ง่าย
คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงและมักจะอารมณ์เสียง่าย เนื่องจากระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งร่างกายพยายามปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่
-
อุณหภูมิในร่างกายสูง
ร่างกายของคุณแม่จะมีอุณหภูมิสูง และรู้สึกร้อนได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงและใช้พลังงานมากขึ้นนั่นเอง
-
มีความไวต่อกลิ่นเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
การตั้งครรภ์จะส่งผลให้คุณแม่มีความไวต่อกลิ่นเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่ากลิ่นนั้นจะมีกลิ่นหอมหรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ก็ตาม
-
เกิดอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะได้ง่าย
น้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตจะลดลงในช่วงตั้งครรภ์ นั่นจึงทำให้คุณแม่มีอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะได้ง่าย แนะนำให้คุณแม่หมั่นดื่มน้ำให้เพียงพอ จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ดี
-
อาจจะมีเลือดออกกะปริดกะปรอย
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีเลือดออกกะปริดกะปรอยโดยที่ไม่มีอาการปวดเกร็งท้องเลย คุณแม่ควรสังเกตอาการให้ดี หากมีเลือดออกไม่หยุดควรรีบพบแพทย์ทันที
อาการคนท้อง ทั้ง 17 อาการที่เราได้นำมาแบ่งปันให้คุณแม่ทุกท่านได้ทราบนั้น อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ในแต่ละคนด้วยอาการที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสังเกตแต่ละอาการให้ดี รวมทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้สุขภาพร่างกายในขณะตั้งครรภ์แข็งแรงอยู่เสมอ ฉะนั้นเรามีอาหารแนะนำสำหรับคุณแม่ ที่เริ่มตั้งครรภ์ ที่ควรทานมีอะไรบ้าง
อาการที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรระวัง
- เลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- บวมตามร่างกาย
- หายใจลำบาก
- มองเห็นภาพซ้อน
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
- ปัสสาวะบ่อยมาก
- สูญเสียน้ำหนัก
- ทารกไม่เคลื่อนไหว
หากคุณมีอาการเหล่านี้ คุณควรไปพบแพทย์ทันที อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่ร้ายแรง
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตัวเอง และที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะในช่วงการตั้งครรภ์นั้นร่างกายจะอ่อนเพลียง่าย และควรลดกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเยอะ นอกจากนั้นควรจะทำการฝากครรภ์และไปพบคุณหมอให้ตรงตามนัดเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง
ที่สำคัญยังควรดูแลเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรจะอด หรือควบคุมอาหารในช่วงนี้ และควรจะทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควรเสริมอาหารจำพวกโปรตีน ธาตุเหล็ก และแคลเซียมรวมทั้งกรดโฟลิกให้เพียงพอ ส่วนอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ อย่างเช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานของหวานมากเกินไป และที่สำคัญไม่ควรสูบบุหรี่เป็นอย่างยิ่งค่ะ
แนะนำช้อมูลสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์
- อาหารที่แม่ท้องควรทานเพื่อบำรุงทารกในครรภ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์
- อาหารที่แม่ท้องควรกินและควรหลีกเลี่ยง ในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือน
- เรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.