10 อาหารที่บอกกันว่าดีต่อสุขภาพ แต่กลับทำลายลำไส้

หลายคนหันมาใส่ใจสุขภาพทางเดินอาหารและโพรไบโอติกส์ในลำไส้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะจุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหารมีผลต่อทุกอย่าง ตั้งแต่การย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงสุขภาพสมอง ลำไส้สุขภาพดีคือลำไส้ที่มีจุลินทรีย์หลากหลาย การย่อยอาหารเป็นปกติ มีอาการท้องอืดน้อย และมีระดับพลังงานคงที่

อย่างไรก็ตามอาหารบางชนิดที่ถูกโฆษณาว่า "ดีต่อสุขภาพ" อาจทำลายสุขภาพทางเดินอาหาร น้ำตาลที่ซ่อนอยู่ สารเติมแต่ง และส่วนผสมอันตรายอื่นๆ สามารถทำลายจุลินทรีย์และส่งผลเสียต่อการย่อยอาหาร ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจ 10 อาหารทําลายลําไส้ ที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ

10 อาหารทําลายลําไส้ ที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ

1.โยเกิร์ตน้ำตาลสูง โยเกิร์ตมักถูกโปรโมตว่าเป็นอาหารโปรตีนและโพรไบโอติกส์สูง ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน ในความเป็นจริง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าโยเกิร์ตช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เสริมสร้างเกราะป้องกันลำไส้ และกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในลำไส้ อย่างไรก็ตาม โยเกิร์ตรสผลไม้หลายยี่ห้อเต็มไปด้วยน้ำตาลที่เติมเข้าไป งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานน้ำตาลมากเกินไปอาจลดความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้และกระตุ้นการอักเสบ

แทนที่จะเลือกโยเกิร์ตรสผลไม้ ควรเลือกโยเกิร์ตกรีกธรรมชาติและเติมผลไม้สดเพื่อความหวานตามธรรมชาติ หากไม่มีทางเลือกอื่น ลองผสมโยเกิร์ตรสผลไม้ 50% กับโยเกิร์ตธรรมชาติ 50% วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากโยเกิร์ตโดยไม่ต้องรับน้ำตาลมากเกินไป

2.เครื่องดื่มอัดลมไร้น้ำตาล เครื่องดื่มอัดลมไดเอทและเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลอื่นๆ มักมีสารให้ความหวานเทียม เช่น อะสปาร์แตมและซูคราโลส งานวิจัยบางชิ้นพบว่า สารให้ความหวานเหล่านี้ส่งผลเสียต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้ความหลากหลายของจุลินทรีย์ลดลง และอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญ หากคุณชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีฟอง ลองเปลี่ยนจากเครื่องดื่มอัดลมไดเอทมาเป็นน้ำโซดาผสมน้ำผลไม้เล็กน้อย เพื่อให้ได้ความซ่าที่เป็นมิตรต่อลำไส้โดยปราศจากสารให้ความหวานเทียม

3.คอมบูชาน้ำตาลสูง คอมบูชา มักถูกยกย่องว่าอุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์ แต่บางแบรนด์กลับเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณมาก ซึ่งลดทอนประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้ น้ำตาลที่เติมเข้าไปมากเกินไปสามารถเป็นอาหารให้แบคทีเรียที่ไม่ดีในลำไส้ ทำให้ประโยชน์ของชาหมักชนิดนี้ลดลง โดยแนวทางการบริโภคอาหารของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้จำกัดปริมาณน้ำตาลที่เติมเพิ่มเข้าไปไม่เกิน 10% ของปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำตาลประมาณ 12 ช้อนชาต่อวัน ดังนั้น ควรเลือกคอมบูชาที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่า 5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือลองหมักคอมบูชาเองที่บ้าน

4.อาหารหมักดอง เช่น กะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง และกิมจิ มีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้ แต่การพาสเจอร์ไรซ์จะฆ่าแบคทีเรียที่มีชีวิตซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ หากไม่มีแบคทีเรียที่มีชีวิต อาหารเหล่านี้อาจไม่มีผลดีต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อย่างไรก็ตาม บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า อาหารหมักดองที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ยังคงมีสารพยาธิภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นการเลือกอาหารหมักดองที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ก็ยังมีประโยชน์อยู่บ้าง

5.อาหารไร้กลูเตน แม้ว่าอาหารไร้กลูเตนจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความไวต่อกลูเตน (และช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคเซลิแอค) แต่ผลิตภัณฑ์ไร้กลูเตนหลายชนิดเต็มไปด้วยสารเติมแต่ง เช่น แป้งขัดสีและอิมัลซิไฟเออร์ การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า อิมัลซิไฟเออร์ในอาหารแปรรูปสามารถทำลายเยื่อบุลำไส้และทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ อาหารไร้กลูเตนหลายชนิดยังมีใยอาหารต่ำ เนื่องจากใยอาหารเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ของเรา อาหารที่มีใยอาหารต่ำจึงไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อลำไส้ของเรา ลองเลือกอาหารธรรมชาติที่ปราศจากกลูเตน เช่น ควินัว ข้าวกล้อง และมันหวาน

6.โปรตีนบาร์มักเต็มไปด้วยรสชาติและสารให้ความหวานเทียม น้ำตาลแอลกอฮอล์ และกัม ซึ่งอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ น้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสียในบางคน นอกจากนี้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ซูคราโลส อาจเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์ เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนในร่างกาย ลองเพิ่มอาหารเหล่านี้ลงในอาหารของคุณ ไข่ โยเกิร์ต ชีสคอตเทจ เอดามะเมะ ถั่วชิกพีคั่ว เต้าหู้ ถั่วต่างๆ และธัญพืชที่มีโปรตีนสูง

7.นมทางเลือก หรือนมจากพืช ถึงแม้จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้นมวัว แต่หลายยี่ห้อก็มักมีส่วนผสมของ คาราจีแนน หรือสารที่ช่วยให้ส่วนผสมต่างๆ เข้ากันได้ดี ซึ่งการวิจัยพบว่าสารเหล่านี้อาจทำให้ลำไส้ระคายเคืองและอักเสบได้ ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดี ควรเลือกนมจากพืชที่มีส่วนผสมน้อยที่สุด หรือเลือกแบรนด์ที่เน้นวัตถุดิบคุณภาพสูง

8.เนื้อเทียมจากพืช อาจดูเหมือนอาหารสุขภาพ แต่หลายชนิดผ่านการแปรรูปอย่างมากและมีสารกันบูด สารเติมเต็ม และโซเดียม ซึ่งอาจทำลายแบคทีเรียในลำไส้ อาหารอุตสาหกรรม (UPFs) ผลิตจากส่วนผสมที่ผ่านการแปรรูปอย่างสูง เช่น น้ำเชื่อวข้าวโพดฟรุกโตสสูง ไขมันไฮโดรเจนเนต และโปรตีนที่ถูกย่อยสลาย มักมีสารเติมแต่งเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารสุดท้ายอร่อยยิ่งขึ้น เช่น สารปรุงแต่งรส สารเพิ่มรสชาติ สี อิมัลซิไฟเออร์ และสารทำให้ข้น เช่น เบอร์เกอร์จากพืชของ Beyond Meat มีส่วนผสมมากมาย รวมถึงน้ำมันปาล์ม น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันคาโนลา เมทิลเซลลูโลส แป้งมันฝรั่ง และเกลือ

9.โอ๊ตมีลสำเร็จรูป โอ๊ตมีลสำเร็จรูปในซองอาจดูเหมือนเป็นอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แต่หลายยี่ห้อมีการเติมน้ำตาลและสารสังเคราะห์จำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลำไส้ นอกจากนี้โอ๊ตมีลสำเร็จรูปยังผ่านการขัดสีมากกว่าโอ๊ตมีลธรรมดา ซึ่งอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทางเลือกที่ดีกว่าคือการเลือกใช้โอ๊ตมีลธรรมดาและปรุงรสด้วยอบเชย ผลเบอร์รี่ และน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อนเมเปิลเล็กน้อย เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

10.น้ำผลไม้ ดูเหมือนจะเป็นวิธีง่ายๆ ในการเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ แต่บ่อยครั้งที่น้ำผลไม้บรรจุขวดมีการเติมน้ำตาล ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลำไส้ นอกจากนี้ แม้แต่น้ำผลไม้ที่ไม่ได้เติมน้ำตาลก็มักจะมีฟรุกโตสสูง ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบได้ในผลไม้หลายชนิด แม้ว่าฟรุกโตสในปริมาณเล็กน้อยจะไม่เป็นปัญหา แต่ร่างกายของเรามีปัญหาในการดูดซึมฟรุกโตสเมื่อมีมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสีย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) แทนที่จะดื่มน้ำผลไม้ ควรลองทำสมูทตี้เองที่บ้านโดยใช้ผลไม้สด ผักใบเขียว และโยเกิร์ตไม่หวาน

  • "โพรไบโอติกส์" กับ "พรีไบโอติกส์" คืออะไร ต่างกันอย่างไร และสำคัญอย่างไรต่อร่างกายของเรา
  • รู้จัก "โพรไบโอติกส์" จุลินทรีย์ดี ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เพิ่มโอกาสท้องง่าย

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.