รู้จักภาวะ "ดื้อโบ" เติมมากแค่ไหนผิวยังย่น อาจส่งผลกระทบลุกลามถึงใช้โบฯ ไม่ได้
จากกรณีศึกษาสตรีวัย 47 ปีจากประเทศสิงคโปร์ที่มีภาวะดื้อโบ โดยคนไข้ใช้ BoNT-A ปริมาณสูงอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี จากนั้นคนไข้สังเกตว่าประสิทธิผลของการรักษาด้วย BoNT-A ลดลง โดยพบว่าระยะเวลาของผลลัพธ์สั้นลง และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาบ่อยขึ้น
คนไข้ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้สูตร BoNT-A ที่มีความบริสุทธิ์สูง ทำให้การรักษากลับมาได้ผลอีกครั้ง ต่อมาคนไข้เปลี่ยนกลับไปใช้ BoNT-A ที่มีปริมาณสูงและมีสิ่งแปลกปลอมอีกครั้งทำให้ประสิทธิผลของการรักษาหยุดลง คนไข้ตรวจเลือดและพบว่ามีแอนติบอดี้ต่อ BoNT-A แพทย์จึงวินิจฉัยว่าคนไข้มีภาวะดื้อ BoNT-A คนไข้ตัดสินใจกลับไปใช้สูตร BoNT-A ที่บริสุทธิ์อีกครั้ง คนไข้ตรวจเลือดและพบว่าแอนติบอดี้ลดลงเมื่อได้รับการรักษาด้วย BoNT-A ที่บริสุทธิ์อย่างต่อเนื่องทุก 3 -4 เดือน
จากเคสคนไข้ดังกล่าวแสดงถึงภาวะดื้อโบที่ผู้ใช้โบทูลินัมท็อกซินพบว่าประสิทธิผลในการรักษาด้วยโบทูลินัมท็อกซินลดลง ต้องเพิ่มปริมาณสาร มีการรักษาถี่ขึ้น หรือเข้ารับการรักษาแล้วไม่เกิดประสิทธิผลต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซิน หรือดื้อโบ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการรักษาแต่อาจกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าในอนาคต คนไข้อาจไม่สามารถรับการรักษาด้วย BoNT-A ได้อีกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางด้านความงาม หรือการแพทย์
เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการดื้อโบ Sanook Women จึงอยากให้ทุกเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดื้อโบตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงความสามารถในการหลีกเลี่ยงภาวะดื้อโบเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
รู้จัก "ภาวะดื้อโบ" หรืออาการดื้อโบ BoNT-A คืออะไร
ภาวะดื้อโบ หรืออาการดื้อโบ คือการรับบริการ การรักษาด้วย BoNT-A และพบว่าการใช้ หรือการรักษาด้วยโบทูลินัมท็อกซินแล้วไม่เห็นผลในแบบประสิทธิผลลดลง ต้องเพิ่มปริมาณสาร หรือรักษาบ่อยขึ้น
สัญญาณ และอาการของภาวะดื้อโบ หรือ ดื้อต่อ BoNT-A
การใช้ปริมาณยาที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้การตอบสนองต่อการรักษาเท่าเดิม หรือต้องรับการรักษาถี่ขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม
ปัจจัยเสี่ยงให้เกิด "ภาวะดื้อโบ" หรือ ดื้อต่อ BoNT-A
- การใช้ BoNT-A ที่มีสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี้มายับยั้งการออกฤทธิ์ของ BoNT-A ซึ่งคล้ายกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน
- การได้รับ BoNT-A ที่มีสิ่งแปลกปลอมซ่้ำๆ ส่งผลให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ทำให้เกิดการดื้อยาในระยะยาว
ต่อเรื่องนี้ศาตราจารย์นายแพทย์วาสนภ วชิรมนได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะดื้อโบยังมาจาก
1.ความถี่ในการใช้ "ส่วนใหญ่เราจะบอกกับคนไข้ว่าไม่ควรถี่กว่า 3 เดือน ต้องเข้าใจว่าโบคือสารแปลกปลอมอย่างหนึ่งที่ร่างกายจะเห็นและต่อต้าน ดังนั้นเราอย่าโหลดของพิสดารเข้าไปบ่อยนัก ส่วนใหญ่ก็จะแนะนำว่าอย่าบ่อยกว่า 3 เดือน"
2.ปริมาณโดสที่ใช้ "ส่วนตัวจะชอบใช้โดสน้อยๆ ก่อนเท่าที่จำเป็น อาจจะมีบางที่ที่ใช้โดสเยอะๆ กล้ามเนื้อไหนที่ไม่จำเป็นก็อัดเข้าไป เราอาจจะได้ยินคำว่าโบเหมาขวด ผมคิดว่าอันนี้เกินจำเป็นในบางอย่าง และร่างกายก็จะมองเห็นว่ามันคือสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นอย่าทำให้ร่างกายเห็นสิ่งเหล่านี้เยอะ"
ผลกระทบต่อการเกิด "ภาวะดื้อโบ" หรือ ดื้อต่อ BoNT-A
- ภาวะดื้อต่อ BoNT-A สามารถลดประสิทธิผลของการรักษา และส่งผลให้คนไข้ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วย BoNT-A ได้อีกต่อไป ทั้งในด้านความงาม และการรักษาโรคในอนาคต
- เนื่องจาก BoNT-A ใช้รักษาโรคทางระบบประสาท และการรักษาโรคต่างๆ เช่นโรคคอบิดเกร็ง และภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง โดยการเกิดภาวะดื้อต่อ BoNT-A อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ หากในอนาคตจำเป็นต้องใช้ BoNT-A ในการรักษาอาการดังกล่าว
วิธีแก้ปัญหาเมื่อเกิด "ภาวะดื้อโบ" หรือดื้อต่อ BoNT-A แล้ว
- สำหรับคนไข้ที่รับการรักษาด้วย BoNT-A อยู่แล้ว การเปลี่ยนไปใช้สูตร BoNT-A บริสุทธิ์ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะดื้อต่อ BoNT-A มากยิ่งขึ้น
วิธีหลีกเลี่ยง "ภาวะดื้อโบ" หรือดื้อต่อ BoNT-A ทำได้อย่างไรบ้าง
- การเลือกสูตร BoNT-A ที่บริสุทธิ์ตั้งแต่เริ่มรับการรักษา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดื้อต่อ BoNT-A และทำให้มั่นใจได้ว่าการรักษาจะยังคงมีประสิทธิผลในระยะยาว
- เลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการรักษา หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคลินิก หรือแพทย์บ่อยครั้งเพื่อให้แพทย์สามารถติดตามประวัติการรักษาและดูแลคนไข้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงภาวะดื้อต่อ BoNT-A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บุคลากรทางการแพทย์ควรใช้ปริมาณยาต่ำสุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ต้องการ โดยเว้นระยะห่างระหว่างการรักษาแต่ละครั้งให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหลีกเลี่ยงการฉีดเพิ่มเติมจากที่วางแผนไว้
- บุคลากรทางการแพทย์ควรทำการประเมินทางคลินิกอย่างครอบคลุม วางแผนการรักษาอย่างรอบคอบ และใช้สูตร BoNT-A บริสุทธิ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดื้อโบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญในการให้คำปรึกษาครั้งแรกแก่คนไข้ เพื่อให้ความรู้แก่คนไข้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดื้อต่อ BoNT-A
คนไข้ต้องสื่อสารกับแพทย์อย่างไรบ้าง
- คนไข้ควรสอบถามแพทย์เกี่ยวกับแบรนด์ BoNT-A ที่ใช้,แผนการรักษา และแผนการดูแลตัวเองในระยะยาว
- คนไข้ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับเป้าหมายการรักษา ความกังวลต่างๆ การเข้ารับการรักษาด้วย BoNT-A ที่ผ่านมาทั้งในแง่การแพทย์ และความงาม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ในผลการรักษาที่ผ่านมา
วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ BoNT-A บริสุทธิ์ ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าบริสุทธิ์สูงเต็มท้องตลาด
- สูตรยาจะถือว่าบริสุทธิ์ก็ต่อเมื่อประกอบด้วยโมเลกุลของสารนิวโรท็อกซินที่ออกฤทธิ์เท่านั้น และจะต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอมเช่นโปรตีนเชิงซ้อน สารนิวโรท็อกซินที่ไม่ออกฤทธิ์ โปรตีนแฟลกเจลลิน หรือสารปนเปื้อนทางพันธุกรรมจองแบคทีเรีย
- สูตร BoNT-A ที่อ้างว่า "บริสุทธิ์เป็นส่วนใหญ่" ยังอาจมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ เช่นสารนิวโรท็อกซินที่ไม่ออกฤทธิ์และแปลงสภาพแล้ว ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
- ผู้ผลิตบางรายอาจอ้างว่าผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์เนื่องจากสูตรการผลิตไม่มีส่วนประกอบของบางชนิด อย่างไรก็ตามสูตรเหล่านี้ยังคงมีสิ่งแปลกปลอมอย่างอื่นที่ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ BoNT-A ได้เช่นกัน
ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจากการประชุม DASIL/MERZ ASCEND Council Meeting ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมระดับโลกด้านแพทย์ผิวหนังและความงาม DASIL (Dermatology,Aesthetics,and Surgery International League) World Congress ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.