วิธีเพาะไข่ผำด้วยตัวเอง สร้างซูเปอร์ฟู้ดส์ไว้กินง่ายๆ ที่บ้าน
ไข่ผำ เป็นพืชน้ำขนาดจิ๋วสีเขียว มีลักษณะคล้ายไข่ปลา เมื่อรวมตัวกันเป็นกลุ่มจะลอยอยู่บนผิวน้ำเป็นแพ มักพบได้ตามแหล่งน้ำนิ่ง เช่น บึง หนอง หรือคุ้งน้ำต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำนิ่งและสะอาด ก่อนนำมาประกอบอาหาร ควรล้างให้สะอาด เพื่อขจัดสิ่งสกปรก อย่างไรก็ตามประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของไข่ผำนั้นมีมากมาย
ไข่ผำเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของรสชาติที่อร่อยและคุณค่าทางอาหารอันสูงส่ง โดยเฉพาะโปรตีนที่พบมากถึง 40% ของน้ำหนักแห้ง ทำให้ไข่ผำเปรียบเสมือนแหล่งโปรตีนชั้นดีเทียบเท่ากับถั่วเหลือง และในบางพื้นที่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมอาจทำให้ไข่ผำมีโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์และไข่ไก่เสียอีก
วิธีเพาะไข่ผำด้วยตัวเอง
ลักษณะทั่วไปของไข่น้ำ
ไข่น้ำ (Wolffia arrhiza (L.) Wimm.) หรือชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “ผำ” หรือ “ไข่ผำ” เป็น พรรณไม้น้ำประเภทลอยน้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งหนองบึงหรือแหล่งน้ำขัง รูปร่างเป็น เม็ดสีเขียวกลมหรือเกือบกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.5 มิลลิเมตร แต่ละต้นมีสีเขียว ไม่มีราก ไม่มีใบ ต้นประกอบด้วยเซลล์ชนิดพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ มีช่องอากาศแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ทำให้เห็นเป็นฟองน้ำและช่วยให้มีการลอยตัวอยู่ในน้ำได้ เป็นพืชที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
องค์ประกอบทางโภชนะของไข่น้ำพบว่า มีโปรตีน เบต้า - คาโรทีน และคลอโรฟิลล์จากการสังเคราะห์แสง ไข่น้ำมีปริมาณโปรตีนในระดับเดี่ยวกับเมล็ดถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดธัญพืช มีเส้นใยสูง มีปริมาณกรดอะมิโนที่ จำเป็นไม่ต่างกับไข่ไก่ สาหร่ายเกลียวทอง และคลอเรลล่า นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ในไข่น้ำสารต้านอนุมูล อิสระ (antioxidant) มากกว่าในสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งใช้รักษาอาการท้องผูก รักษาสภาวะซีดในคนที่เป็น โรคโลหิตจางได้ ประโยชน์ของไข่น้ำสามารนำมาใช้ปรุงอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น แกงอ่อม แกงคั่ว ไข่ตุ๋น ไข่เจียว เป็นต้น รับประทานได้
คุณค่าทางโภชนาการไข่ผำ (ส่วนที่กินได้ 100 กรัม)
– น้ำ : 97.1 กรัม – พลังงาน : 9 กิโลแคลอรี
– โปรตีน : 0.6 กรัม – ไขมัน : 0.1 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต : 1.5 กรัม – ใยอาหาร : 0.3 กรัม
– เถ้า : 0.7 กรัม – แคลเซียม : 59 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 25 มิลลิกรัม – เหล็ก : 6.6 มิลลิกรัม
– วิตามิน A : 535 มิลลิกรัม – วิตามินซี : 11 มิลลิกรัม
– ไทอะมีน (วิตามิน B1) : 0.03 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวิน (วิตามิน B2) : 0.09 มิลลิกรัม
– ไนอะซีน (วิตามิน B3) : 0.4 มิลลิกรัม
(กองโภชนาการ กรมอนามัย, 2544. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.)
ประโยชน์ทางด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
1.ไข่ผำนำปล่อยในบ่อเลี้ยงปลาชนิดที่กินพืช อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาไน เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารเสริมตามธรรมชาติให้แก่ปลา ทั้งนี้ จะปล่อยในปริมาณน้อย และต้องควบคุมปริมาณไม่ให้แพร่กระจายปกคลุมผิวน้ำ เพราะผำจะแพร่กระจายปกคลุมหน้าผิวน้ำจนทั่วทำให้น้ำมีออกซิเจนต่ำและขัดขวางการหายใจของปลาในบ่อได้
2. ใช้ปล่อยในบ่อบำบัดน้ำเสียสำหรับลดค่าความสกปรกของน้ำ โดยเฉพาะสารไนโตรเจนที่เป็นแร่ธาตุสำคัญของการเติบโต และโลหะหนักชนิดต่างๆ
การขยายพันธุ์ของไข่น้ำ
การขยายพันธุ์ไข่น้ำจะแตกหน่อต้นใหม่ (budding) สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เกิดการแตกหน่อ ทุก ๆ5-6 วัน โดยการแตกหน่อเริ่มจากแตกเป็นปุ่มทางด้านปลายต้นและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนหลุด ออกจากกัน และต้นแม่มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 15 วัน จำนวนต้นของไข่น้ำที่แตกหน่อเพิ่มจำนวนสูงสุดประมาณวันที่ 12 ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมน้ำแห้งขอดหรือปริมาณธาตุอาหารในน้ำลดลงไข่น้ำจะเข้าสู่ระยะ พัก ไข่น้ำจะเกาะอยู่ตามรากแหนหรือพืชน้ำมีลักษณะเป็นเซลล์เดียวเม็ดสีเขียวเล็กกลมแข็ง และจมฝังใน พื้นดินก้นบ่อในสภาพฟักตัวเรียกว่า turion หรือชาวบ้านเรียกว่า หางเหิน และสามารถเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีถัดไป สำหรับบ่อเลี้ยงขนาดเล็ก บ่อซีเมนต์ กะละมัง หรือบ่อพลาสติก เมื่อขาดธาตุอาหารในบ่อเลี้ยงต้องเติมปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยง ไข่น้ำจะเจริญเติบโตใหม่ ขึ้นมาทันทีพร้อมที่จะขยายพันธุ์ต่อไป
การเพาะขยายพันธุ์ผำในบ่อซีเมนต์ (โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพิจิตร)
1.วัสดุอุปกรณ์
1.1 บ่อซีเมนต์กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 120 เซนติเมตร
1.2 ปุ๋ย N-P-K สูตร 15-15-15 ปริมาณที่ใช้ 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร
1.3 น้ำหมักมะขามป้อม 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร
1.4 พันธุ์ผำ 100 กรัมต่อตารางเมตร
1.5 ฝาปิดบ่อ ให้แสงผ่านได้ (ป้องกันเศษใบไม้หรือสิ่งสกปกตกลงบ่อเลี้ยงผำ)
2. วิธีดำเนินการ
2.1 ล้างทำความสะอาดบ่อซีเมนต์ เติมน้ำสะอาดลงในบ่อลึก 25 เซนติเมตร เสร็จแล้วคำนวนหาปริมาตรน้ำในบ่อเพื่อเติมปุ๋ย ได้ปริมาตรน้ำ 237 ลิตร
2.2 ชั่งปุ๋ยเคมี 23.7 กรัม นำมาละลายน้ำคนจนปุ๋ยละลายหมด นำไปเทใส่ในบ่อที่เตรียมไว้แล้วคนน้ำปุ๋ยกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน
2.3 ชั่งพันธุ์ผำ 95 กรัม แล้วนำไปปล่อยในบ่อที่เตรียมไว้
2.4 ปล่อยผำไว้ประมาณ 7 วันจึงเก็บเกี่ยวผลิตผำ (ได้ปริมาณผลผลิต 500-650 กรัมต่อบ่อ)
2.5 การเก็บเกี่ยวผลผลิตผำแบบต่อเนื่อง ในทุกๆ 7 วันเก็บผำประมาณ 2 ใน 3 ของบ่อเลี้ยง เติมปุ๋ย 1 ช้อนแกง (ละลายน้ำแล้วนำไปใส่) เพื่อเป็นธาตุอาหารให้กับผำ และทุก 15 วันทำความสะอาดดูดตะกอนพื้นก้นบ่อนำเศษของเสียสิ่งสกปรกออก
2.6 หมั่นตรวจสอบความบริสุทธิ์ของผำ ทั้งนี้อาจมีแหนปะปนมาให้คอยหมั่นเก็บออก
2.7 หากมีสาหร่ายสีเขียวขึ้น แก้ไขโดยปรับค่า pH ของน้ำเลี้ยงให้อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
2.8 พบหนอนแดงหรือตัวอ่อนของแมลงน้ำ เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลาได้ หรือถ้าหากไม่ต้องการควรเปลี่ยนถ่านน้ำเป็นประจำเพื่อกำจัดหนอนแดงออกจากบ่อ(กรณีที่นำไปบริโภค)
3. คุณภาพน้ำ
3.1 pH 8.0
3.2 Alkalinity 102 mg/L
3.3 Ammonia(NH4,NH3) 5 mg/L
- รู้จัก "ไข่ผำ" พืชพื้นบ้าน อุดมด้วยแร่ธาตุ วิตามินจนกลายเป็นซูเปอร์ฟู้ดส์ระดับโลก
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.