อาหารเพื่อสุขภาพชายสูงอายุ กินแบบไหนเหมาะสม กินแบบไหนต้องระวัง ต้องรู้!
สำหรับผู้สูงอายุควรบริโภคอาหารให้หลากหลาย ให้สารอาหารที่จำเป็นครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป และไม่น้อยจนเกินไป สิ่งสำคัญคือต้องได้รับพลังงานที่เพียงพอ จากอาหารประมาณ 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยกระจายอยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งกลุ่มอาหารที่ดีต่อสุขภาพผู้ชายวัยสูงอายุ และข้อควรระวังในการทาน คือ
1.โปรตีน
ผู้สูงอายุต้องการสารอาหารกลุ่มนี้มากที่สุด ควรตั้งเป้าที่จะกินโปตีนประมาณ 6-8 ช้อนโต๊ะต่อวัน เนื่องจากโปรตีนจำเป็นต่อการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาหารกลุ่มนี้ประกอบด้วยโปรตีนจากสัตว์ เช่น ไก่ หมู เนื้อวัว ปลา และกุ้ง โดยปลาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากย่อยง่ายและมีปริมาณไขมันต่ำ
นอกจากนี้ โปรตีนจากนมยังมีความสำคัญต่อการรักษากระดูกให้แข็งแรง ควรดื่มนมไขมันเต็มทุกวัน 1-2 แก้ว และรับประทานไข่ไก่อย่างน้อย 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ควรจำกัดการบริโภคไข่แดงไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ หรือเลือกบริโภคเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น
2.แร่ธาตุ
สารอาหารส่วนใหญ่มาจากผักและผลไม้หลากสี ผู้สูงอายุควรบริโภคผักที่ปรุงสุก หรือนึ่งจนนิ่มแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย แนะนำให้รับประทานผักหลากสีสัน เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันโรค โดยแร่ธาตุสำคัญที่ผู้สูงอายุควรทาน คือ
- ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจางและความเหนื่อยล้า ซึ่งมักพบในผักใบเขียว บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ ถั่วเขียว ถั่วแดง และงาดำ
- วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ซึ่งมักพบในผักโขม มะละกอ ฝรั่ง และส้ม
- โพแทสเซียม ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบได้ทั่วไปในกล้วย ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ บรอกโคลี กะหล่ำดอก ผักโขม และข้าวกล้อง
- วิตามินบี 12 จำเป็นสำหรับการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์สมอง และเส้นประสาท พบได้ทั่วไปในเนื้อสัตว์ ไข่ โยเกิร์ต ชีส และนมทุกประเภท
- แมกนีเซียม พบมากในปลา ผักใบเขียว กล้วย และถั่วต่าง ๆ
- วิตามินอี ช่วยบำรุงสายตาของผู้สูงอายุ ซึ่งมักพบในผักโขม แครอท ฟักทอง สควอช และมะละกอ
3.คาร์โบไฮเดรต
ผู้สูงอายุควรเลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรืออาหารดัชนีน้ำตาลต่ำทุกวัน เช่น ข้าวกล้อง มันเทศ ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต ผลไม้และผัก สิ่งสำคัญคือต้องบริโภคคาร์โบไฮเดรต ในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง
อาหารควรเลี่ยงของผู้สูงอายุ งดหรือนาน ๆ ครั้งได้ มีอะไรบ้าง?
- อาหารที่มีรสหวาน เค็ม หรือมันมากเกินไป เช่น ขนมไทย เค้ก ลูกอม ไอศกรีม และช็อกโกแลต อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
- อาหารทอดและเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน ย่อยยาก ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายและท้องอืด
- อาหารแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก ลูกชิ้น และแฮม มักประกอบด้วยสารกันบูด สารเติมแต่ง ตลอดจนสีและรสชาติสังเคราะห์ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา สารเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ในระยะยาว
- อาหารหมักดองและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงคาเฟอีนและการสูบบุหรี่ มีส่วนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงสิ่งที่บริโภค เพื่อรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอาหารและโภชนาการ เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ การป้องกันโรค และคุณภาพชีวิตโดยรวม การให้โภชนาการที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ถือเป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องใส่ใจอย่างใกล้ชิด
ในสังคมปัจจุบัน ประเทศไทยเปิดรับชุมชนผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพสูงได้ ผู้ดูแลและผู้สูงอายุเอง ก็ควรดูแลโภชนาการเป็นอย่างดีไปพร้อมกัน
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.