"มรภ.สวนสุนันทา" หนุนชุมชนเปิดศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก จ.สมุทรสงคราม

นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก ตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ตามยุทธศาสตร์บริการวิชาการชั้นนำด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งรวบรวมองค์ความรู้ที่บูรณาการระหว่างการวิจัยการบริการวิชาการการเรียนการสอนและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผสมผสานร่วมกันให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนโรงเรียนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบการตลอดจนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา อีกทั้งช่วยยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยมีการวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อการรับรองคุณภาพผลผลิตและผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่าง ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ นวัตกรรมพร้อมใช้ นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์สร้างรายได้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า "โครงการศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอกนี้ไม่ใช่แห่งแรกในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ทางมรภ.สวนสุนันทาเข้ามาช่วยส่งเสริมต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็มีมี 2-3 แห่งแล้ว ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือทำให้วิสาหกิจชุมชนนั้นๆ ที่มีความสมบูรณ์แบบและมีความพร้อมมากขึ้นจนเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ใช้วิชาการมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตผลต่างๆ จากที่วิสาหกิจชุมชนเดิมมีอยู่ก่อนนั้น ให้มีคุณภาพและเกิดประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อชุมชนในส่วนรวม"

"นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดพัฒนาผลผลิตเดิมๆจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งในแง่ของการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายและเพิ่มมูลค่ามูลทางการตลาดได้อีกด้วย เช่น การนำพริกบางช้างซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่นไปต่อยอดพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายในการใช้ประโยชน์ได้อย่างน่าสนใจ โดยนักวิจัยได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่ที่มาของพริกบางช้าง ซึ่งผมทราบมาก่อนแล้วว่าทางได้มีการทดลองปลูกในพื้นของทาง มรภ.สวนสุนันทาอยู่แล้วด้วย จนต่อมาก็ขยายผลไปหลายพื้นที่ ซึ่งกลุ่มต่างๆ ในชุมชนก็ให้ความสนใจรวมถึงโรงเรียนหลายแห่งในพื้นที่ด้วย โดยต่างก็ได้รับการสนับสนุนให้ปลูกพริกบางช้างจำนวนมาก"

"ผมจึงได้นำเรียนกับท่านผู้ว่าฯ ก็เห็นด้วยและพร้อมสนับสนุนโดยสั่งการไปทางเกษตรจังหวัดรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมช่วยดูแลเสริมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพคงคุณค่าและอัตลักษณ์ของพริกบางช้างไว้ แล้วจึงพัฒนาต่อยอดการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ โดยผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายได้จนเกิดรายได้ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนและประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบพื้นที่และยังสามารถเป็นตัวอย่างให้กับศูนย์เรียนรู้อื่นๆ และผู้ที่มาศึกษาดูงาน แล้วนำไปต่อยอดต่อไป ซึ่งถ้าทุกแห่งสามารถนำไปขยายผลต่อยอดก็จะยิ่งเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างมาก
วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอกนี้ มีคนเข้ามาศึกษาดูงานอยู่บ่อยครั้ง"

"ฉะนั้น การที่ทางมรภ.สวนสุนันทาเข้ามาสนับสนุนและเติมองค์ความรู้ให้กับกลุ่มสมาชิกก็ยิ่งทำให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้นจนมีการบอกต่อกันไป อย่างเช่นเรื่องของการปลูกพริกบางช้าง มันเป็นพริกที่ปลูกยาก อันนี้จริงๆแล้วเราก็ได้ได้รับความร่วมมือจากทางเกษตรจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการปลูก การดูแลรักษาต้นพริกให้เติบโตเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ เนื่องจากพริกบางช้างเป็นพืชผักสวนครัวในชุมชนต่างเคียงคู่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงครามมาอย่างยาวนาน อย่างในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในสมัยรัชกาลที่2 ก็มีการพูดถึงเรื่องของการทำอาหารคาวหวานในสมัยนั้นที่มีส่วนผสมของพริกบางช้าง ดังนั้นการที่ทางมรภ.สวนสุนันทา นำเรื่องพริกบางช้างมาต่อยอดนวัตกรรมในการพัฒนาแปรรูปจนเกิดการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนจึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี"

"อีกอย่างเรื่องของผ้ามัดย้อมที่เป็นผลผลิตที่ขึ้นชื่อของทางเกษตรสวนนอก ที่ทางจังหวัดสมุทรสงครามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดก็ให้การสนับสนุนส่งเสริมโดยให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ได้นำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผ้า ทั้งผ้ามัดย้อมของทางกลุ่มเกษตรสวนนอก และอื่นๆ เช่น กลุ่มยี่สาร อีกหลายๆกลุ่มที่มีการผลิตผ้ามัดย้อมซึ่งมีเอกลักษณ์ของตัวเอง มาจัดแสดงและจำหน่าย เช่น ในงานกาชาดที่ผ่านมาเมื่อเร็วนี้ ได้จัดให้มีการเดินแบบผ้าไทย. ท่านผู้ว่าฯก็เน้นเลยว่า 'ขอให้เป็นผ้ามัดย้อม' ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของคนในพื้นที่ เพราะจังหวัดเองก็มีหน้าที่ในการที่จะส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอยู่แล้ว OTOP อยู่แล้ว จึงสนับสนุนเต็มที่ เช่นเดียวกับการต่อยอดพัฒนาวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ในวิสาหกิจชุมชนต่างๆ อีกหลายแห่งในอนาคต ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ได้มีการจัดลำดับในการเข้าไปดูแลส่งเสริมให้กับทางวิสาหกิจชุมชนต่อไป ซึ่งจังหวัดก็ต้องขอบคุณทาง มรภ.สวนสุนันทา สำหรับโครงการดีๆเหล่านี้ แล้วก็พร้อมที่จะสนับสนุนทุกประการ"

ด้าน ผศ.ดร.วัฒน์ พลอยศรี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สวนสุนันทา กล่าวว่า "สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สวนสุนันทา ได้ดำเนินการโครงการยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมไปถึงโครงการสร้างศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนเพื่อนำประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆชุมชนมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราตั้งเป้าว่าทั้งสองโครงการนี้จะนำพาประโยชน์ให้กับชุมชนให้ได้ประโยชน์สูงสุด เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามงบประมาณ รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐ จัดสรรมาสนับสนุน ซึ่งเราตั้งใจศูนย์การเรียนรู้เหล่านี้เป็นต้นแบบ และเป็นตัวอย่างของชุมชนอื่นๆ ในการนำทรัพยากรที่มีในชุมชนเองมาต่อยอดใช้ประโยชน์ รวมไปถึงการที่จะขับเคลื่อน นำเอา scg ที่เราตั้งเป้าไว้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนยิ่งๆขึ้นสืบไป"

"สำหรับที่มาเริ่มต้นในการทำการวิจัยและต่อยอดนวัตกรรมกับศูนย์เกษตรสวนนอกนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สวนสุนันทา เราเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2564 เริ่มจากการนำนักวิจัยลงพี้นที่ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลรวมถึงได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันระหว่างสองฝ่าย ซึ่งก่อนที่จะเกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้นี้ ทางวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอกก็มีตัวงานชุมชนที่ทำอยู่ก่อนแล้วตัวอย่างเช่น การทำผ้ามัดย้อม และผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำ เป็นต้น"

"ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทาง มรภ.สวนสุนันทา ก็ได้นำนักศึกษาเข้ามาศึกษาดูเพื่อเรียนรู้และต่อยอด จนพบว่าพริกบางช้างซึ่งเป็นพืชผักสวนครัวและนับว่าเป็นพืชประจำถิ่น ซึ่งได้มีการขึ้นทะเบียนอัตลักษณ์ท้องถิ่น(GI) เพราะนิยมปลูกและใช้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้ทำการส่งเสริมโดยเริ่มตั้งแต่สาธิตการปลูกพืชพริกบางช้างที่ถูกต้องและให้ผลผลิตที่ได้คุณภาพตามคุณสมบัติของพริกบางช้างที่ควรจะเป็น จากนั้นจึงต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยนวัตกรรมของนักวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สวนสุนันทา ไม่ว่าจะเป็น ยาหม่องจากพริกบางช้าง สบู่จากพริกบางช้าง ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อชุมชนอย่างเหมาะสมกับทิศทางที่ดำเนินงานอยู่แล้ว"

"ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอกเป็นกลุ่มที่ทำเวชสำอางค์ดังนั้นเราจึงมาต่อยอดจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ อาทิ ยาหม่องจากพริกบางช้าง สบู่จากพริกบางช้าง ดังกล่าวข้างต้น หรือ กรณีศึกษาต่อยอดนวัตกรรมจากปัญหาสังคม ในเรื่องของการขยะจากกุหลาบจำนวนมากที่เหลือหลังจากการบูชาตามความเชื่อที่วัดจุฬามณี เราก็มีการส่งเสริมเป็นนวัตกรรมการทำกระดาษจากก้านกุหลาบโดยมีนักวิจัยเข้ามาสอนกรรมวิธีแปรรูป โดยเป็นผลิตภัณฑ์จากกระดาษจากนั้นได้ต่อยอดแปรรูปเป็นยันต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แล้วนำมาจำหน่ายในร้านภายในวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นการบูรณาการและแชร์องค์ความรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยกับทางชุมชนที่ให้นักศึกษามาเรียนรู้ นักวิจัยให้ชุมชนมาเรียนรู้ ตรงนี้นับว่าลงตัวพอดีตามยุทธศาสตร์ทั้งสองโครงการ ที่ มรภ.สวนสุนันทาได้ตั้งเป้า คือ ต้องการให้ชุมชนได้ประโยชน์ครบทุกด้าน ซึ่งก็นับว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่มาของการเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการในวันนี้ และต่อไปจะเป็นการเรียนรู้นำองค์ความรู้ต่างๆที่ได้แลกเปลี่ยนและทำร่วมกันมารวมบรรจุไว้ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชนและผู้สนใจในการเข้ามศึกษาดูงาน โดยศูนย์นี้จะเป็นศูนย์กลางและเป็นต้นแบบที่มีองคาพยพ มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่เพียบพร้อม สามารถถ่ายทอดให้ผู้ที่เข้ามศึกษาดูงานได้นำไปต่อยอดปฏิบัติจริง ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความยั่งยืนในการต่อพัฒนาให้กับชุมชนท้องถิ่น ตามวิสัยทัศน์ของ มรภ.สวนสุนันทา ในการที่จะเป็นHUB หรือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับชุมชนในการต่อยอดนวัตกรรมด้านต่างๆต่อไป.

ด้าน นางบุปผา ไวยเจริญ ประธานศูนย์วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก กล่าวว่า "ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอกนี้เกิดขึ้นมาได้โดยความร่วมมือของระหว่างของวิสาหกิจชุมชนของเรากับ ทาง มรภ.สวนสุนันทา นำทีมโดย รศ.ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ในการดูแลสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ตลอดจนให้คำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่เปิดศูนย์ตรงนี้เลย เริ่มแรกเป็นเรื่องของกระดาษสาจากก้านกุหลาบที่เหลือจากการใช้บูชาตามความเชื่อในวัดจุฬามณี จากที่เคยเป็นขยะต้องทิ้งและเสียงบประมาณจำนวนมากในการให้เทศบาลนำไปกำจัดทุกวัน ซึ่งเมื่อเรามาทดลองทำกระดาษสาก็พบว่าได้ผล ความร่วมมือดังกล่าวจึงเริ่มจากตรงนี้และดำเนินการจนมีความชำนาญจนเติบโตมาสู่การคิดว่าปรับปรุงศูนย์ใหม่ให้เหมาะสมและมีความพร้อมในการเป็นศูนย์เรียนรู้ที่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้และรับการถ่ายทอดจนสามารถนำไปปรับใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากสนับสนุนนวัตกรรมองค์ความรู้แล้วทาง มรภ.สวนสุนันทา ก็ได้สนับสนุนประมาณเริ่มต้นในการสร้างศูนย์เรียนรู้อีกด้วย"

"สำหรับกิจกรรมของเรานอกจากกระดาษสาที่เราทำจนสำเร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว ในตอนนี้ยังมีเรื่องของพริกบางช้างด้วย เพราะถึงแม้พริกบางช้างจะมี GI รับรองอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ว่าจริงๆแล้วการปลูกพริกบางช้างในพื้นที่ยังมีน้อยมากและปลูกแค่เฉพาะเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น ตรงนี้ทาง มรภ.สวนสุนันทา ก็บอกว่า ควรต้องน่าจะมีจุดที่เป็นกลางในการเรียนรู้เรียนรู้ที่สามารถให้คนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆในการปลูกทั้งขบวนการ ที่ไม่ใช่แค่วิธีการปลูกพริก แต่เรามองไปถึงการแปรรูป ว่า จะแปรรูปเป็นอะไรบ้าง ซึ่งตอนนี้ทาง มรภ.สวนสุนันทา ก็เข้ามาช่วยต่อยอดในเรื่องการแปรรูป เป็นครีมอาบน้ำจากพริกบางช้าง ยาหม่องจากพริกบางช้าง ฯลฯ"

"จากการที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาพบว่ามีหลากหลายมากเลยในกลุ่มที่ป็นศูนย์เรียนรู้ ที่เราได้ทำในเรื่องของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เรื่องของโลชั่น แปรรูปผ้ามัดย้อม แต่ว่าสมาชิก ของกลุ่มมีประมาณ 26 คน ทุกคนไม่สามารถ เขาไม่ได้ชอบผ้ามัดย้อมบางคนเขาก็ไม่ได้ชอบ ครีมก็ไม่ชอบ แต่เขาอาจจะชอบปลูกผัก เราพยายามหาอะไรที่มันตรงจริตของสมาชิก เขาชอบในเรื่องของการปลูกผัก ปรากฏว่าพันธุ์พริกที่ให้มาจากสวนสุนันทาเราก็แจกจ่ายให้กับสมาชิกไปปลูก มันโอเค พอมันโอเคแล้ว เราก็เลยมาขยายเอา แล้วพอเอามาขยายแล้วน่ะ ตรงนี้จะเป็นจุดเลยจุดว่าเป็นเลยว่า การปลูกพริก วิธีการดูแลวิธีการปลูกเป็นอย่างไร แล้วทีนี้เราจะมองในเรื่องของการแปรรูปละเพราะบางคนอาจจะมองว่า ปลูกแล้ว จะเอาไปไหนถ้าเกิดมันเยอะขึ้นมาจริงๆแล้วจะเอาไปไหนเราก็เลยมองในเรื่องของการแปรรูป มันก็จะเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก"

"นอกจากนี้ทาง มรภ.สวนสุนันทา เข้ามาช่วยทำเว็บไซต์ในเรื่องของพริกบางช้างให้ โดยจะมีเรื่องของความรู้ที่เน้นๆ อาทิ เรื่องของผลิตภัณฑ์ เรื่องของการแปรรูป. และ เรื่องของการตลาดเราไม่กลัวอยู่แล้ว เพราะเรามีช่องทางอยู่ที่ตลาดน้ำอัมพวาด้วย เรามีร้านอยู่ตรงนั้นแล้วก็สามารถเอาไปวางจำหน่ายได้ แล้วตรงนี้ก็เป็นที่คนเขาเรียกว่าตลอดเวลา มีคนมาดูงานบ่อยมากตรงนี้เป็นอีกจุดนึงที่จะเป็นเรื่องของการขยายตลาด ซึ่งก็นับว่าประสบความสำเร็จและโตเร็วมาก และขอขอบคุณมรภ.สวนสุนันทา ในการที่เข้ามาส่งเสริมในการต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ ให้กับชุมชน จนเกิดการพัฒนาและกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดและเป็นต้นแบบในการต่อยอดนวัตกรรมสำหรับผู้สนใจและชุมชนอื่นๆได้ต่อไป"

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.