"บุหลันมันตรา" ละครพีเรียดแฝงเกร็ดประวัติศาสตร์ ยุคสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
พร้อมลงจอให้ได้รับชมกันในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคมนี้แล้ว สำหรับละคร ดรามาแฟนตาซีฟอร์มยักษ์ บุหลันมันตรา ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครือ อาร์เอส กรุ๊ป ละครข้ามเวลาที่ไม่เหมือนเดิม แถมแฝงเกร็ดประวัติศาสตร์ ที่จะพาทุกคนข้ามไปสู่อาณาจักรอยุธยา กับเรื่องราวสุดเข้มข้นเหนือจินตนาการท่ามกลางสงครามการเมืองที่เดิมพันด้วยราชบังลังก์
โดยความน่าสนใจคือ ละครเรื่องนี้ได้สร้างจากนวนิยายที่ชื่อว่า บุหลันมันตรา โดย นัทธิมา บอกเล่าเรื่องราวเหนือจินตนาการ พร้อมหยิบยก เกร็ดประวัติศาสตร์ในบางแง่มุม ของยุคสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มานำเสนอไว้ได้อย่างลงตัว และน่าสนใจ กล่าวคือละครเรื่องนี้ อาจจะไม่ใช่ละครประวัติศาสตร์โดยตรง แต่ได้รับแรงบัลดาลใจจากเกร็ดประวัติศาสตร์นั่นเอง โดยเกร็ดประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงในละครบุหลันมันตรา สามารถแบ่งเป็นภาพรวมใหญ่ได้เป็นสองหัวข้อดังนี้
ตัวละครสำคัญมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
ในละครบุหลันมันตรามีตัวละครสำคัญที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือ พระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 19 แห่งกรุงศรีอยุธยา หรือที่ชาวตะวันตกเรียกขานพระองค์ว่า พระองค์ขาว บทอันทรงเกียรตินี้ ได้ “พลตรี วินธัย สุวารี” มาถ่ายทอด ซึ่งเสธ.ต๊อด นั้นเคยรับบทนี้ในภาพยนตร์ระดับประเทศเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาแล้ว และในครั้งนี้เค้า ได้กลับมาถ่ายทอดบทบาทนี้อีกครั้ง ในละครบุหลันมันตรา
และอีกหนึ่งบุคคลสำคัญคือ “เจ้าฟ้าสุทัศน์” ผู้เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และเป็นพระมหาอุปราช ผู้มีสิทธิสืบราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจาก สมเด็จพระเอกาทศรถ รับบทโดย “โอ อนุชิต” นักแสดงมากฝีมือการันตีด้วยรางวัลมากมายมาถ่ายทอดบทบาทนี้ โดยทั้งสองตัวละคร ถือว่าเป็นสองตัวละครที่จะนำพาไปสู่เรื่องราวของสงครามการเมือง ในสมัยอยุธยา ที่เดิมพันด้วยราชบัลลังก์ ไว้อย่างเข้มข้น และเชื่อว่า ด้วยดีกรีของสองนักแสดงระดับคุณภาพ จะสามารถถ่ายทอดสองบทบาทสำคัญนี้ได้ออกมาสมบูรณ์แน่นอน
โบราณราชประเพณี และ พิธีสำคัญที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
สำหรับละครเรื่องบุหลันมันตรา นอกจากจะมีบุคคลที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เหตุการณ์ โบราณราชประเพณี และ พิธีสำคัญ ที่ละครนำมาใช้เล่าในเรื่อง ก็มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน ซึ่งทางผู้จัด และ ผู้กำกับอย่าง “คุณกรัณย์ คุ้มอนุวงศ์” ได้ศึกษาข้อมูล ขั้นตอนสำคัญของแต่ละพิธีมาเล่าไว้ในละครอย่างสมจริง ไม่ว่าจะเป็น พิธีสถาปนาวังหน้า หรือ ว่าที่กษัตริย์คนต่อไป ซึ่งในเรื่องบุหลันมันตรา “เจ้าฟ้าสุทัศน์” ได้เข้าพิธีนี้ เพื่อ สืบพระราชสุริยวงศ์ต่อ หลังสิ้นแผ่นดินพระเอกาทศรถนั่นเอง
โดยฉากนี้ที่ทีมงานเซตฉากท้องพระโรงออกมาได้ดูสวยงาม ยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยทัพนักแสดงแบบจัดเต็ม หรือแม้แต่ พิธีถวายตัวให้กับกษัตริย์ โดยใช้ท่า “พับเป็ด” ซึ่งเป็นท่าแรกที่ถูกกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา และเป็นท่าแรกที่บังคับ
ตามจารีตประเพณี โดยจะเป็นท่ากามสูตรที่จะเก็บเท้าไม่ให้ชี้ ไปทางกษัตริย์ ซึ่งมีความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้เปรียบเสมือนองค์สมมติเทพ เพราะเท้าเป็นของต่ำ ไม่สามารถถูกหรือสัมผัสพระเจ้าแผ่นดิน ก็มีให้แฟนละครได้เห็น ผู้ที่ได้ถ่ายทอดบทสำคัญ และทำท่าพับเป็ดนี้ คือ “ยีน เกวลิน” ในบท ยี่สุ่น ที่ต้องเข้าถวายตัวเป็นสนมกับ เจ้าฟ้าสุทัศน์ รับบทโดย “โอ อนุชิต” งานนี้อยากจะให้ทุกคนได้จับตารอชมฉากนี้ว่าจะวิจิตร และจะออกมาว้าวแค่ไหน
ด้าน พิธีลอยประทีป หรือ พิธีจองเปรียง ของพระมหากษัตริย์ ก็มีให้ชม ในละครบุหลันมันตราเช่นกัน โดย พิธีดังกล่าวจะจัดขึ้นทุกเดือน 12 ซึ่งจะมีกิจกรรมการชักโคมไฟขึ้นสู่ยอดไม้ และกิจกรรมที่ทำให้น้ำหรือพระแม่คงคา คือการลอยโคมลงน้ำ โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จออกลอยพระประทีปในเวลากลางคืน สืบทอดต่อกลายมาเป็นพิธีลอยกระทงในปัจจุบันนั่นเอง
ด้วยส่วนผสม มวลรวมของ ละครเรื่องบุหลันมันตรา ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง โปรดักชัน เนื้อเรื่องความแฟนตาซี ที่ผสานกับเกร็ดประวัติศาสตร์ ได้ออกมาอย่างลงตัว เชื่อว่าจะเป็นละครช่อง 8 อีกหนึ่งเรื่องในปีนี้ที่จะสามารถสร้างปรากฏการณ์ ทางหน้าจอและกระแสให้พูดถึงกันในหลายแง่มุมได้ไม่น้อยอย่างแน่นอน
มาพิสูจน์ความปังในละคร บุหลันมันตรา พร้อมกัน และรับชมสดที่หน้าจอช่อง 8 เริ่มตอนแรก วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 และ ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 18.00 น. ทางช่อง 8 กดเลข 27 สามารถรับชมย้อนหลังที่แรกที่เดียวที่ TrueID
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.