พ.ร.บ. กับ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่า พ.ร.บ. กับ ภาษีรถยนต์ประจำปี แตกต่างกันอย่างไร ทั้งคู่จำเป็นต้องต่อทุกปีหรือไม่? บทความนี้ Sanook Auto จะพาไปไขคำตอบกัน

พ.ร.บ. คืออะไร?

พ.ร.บ. หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้รถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกทุกคันจะต้องจัดทำและมีไว้เป็นหลักประกัน เพื่อให้ผู้ที่ประสบภัยจากรถจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากวงเงินรักษาพยาบาล รวมถึงเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร และผู้เดินเท้า ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
  • จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด
  • จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายถูกสูงสุด 80,000 บาท
  • การชำระภาษีรถประจำปีจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ทุกครั้ง โดยจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ชำระภาษี

ภาษีรถยนต์ คืออะไร?

ภาษีรถยนต์ หรือ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้จดทะเบียนตามกฎหมายอย่างถูกต้องกับกรมการขนส่งทางบก และชำระภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้ว โดยกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการต่อภาษีประจำปี ไว้ดังนี้

  • การใช้รถโดยไม่ต่อภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
  • การไม่แสดงป้ายภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
  • หากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนทันที หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่ พร้อมชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่ค้างอีกด้วย

วิธีชำระภาษีประจำปีรถยนต์ผ่านออนไลน์ 2567 ไม่ต้องไปขนส่ง

1.ตรวจสอบวันครบอายุภาษีรถประจำปี จากคู่มือรถ, เครื่องหมายการเสียภาษี หรือเว็บไซต์ชำระภาษีรถออนไลน์ https://eservice.dlt.go.th/ (เมนู “สอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี”)

โดยรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี จำเป็นต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) เสียก่อน จึงจะสามารถดำเนินการชำระภาษีได้ ส่วนรถที่ติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติ จะต้องมีใบรับรองวิศวะรถใช้ก๊าซ LPG/NGV ตามระยะเวลาที่กำหนด

2.เตรียมเอกสาร ได้แก่ คู่มือรถฉบับจริง (กรณีรถติดไฟแนนซ์สามารถใช้สำเนาได้) และหลักฐานความคุ้มครอง พ.ร.บ.

3.ชำระภาษีประจำปี ผ่านช่องทางดังนี้ (ชำระล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนวันครบภาษี)

  • สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน
  • เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
  • ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก
  • เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
  • แอปพลิเคชั่น DLTVehicleTax
  • แอปพลิเคชั่น mPay และ TrueMoneyWallet

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.