สรรพากร เดินหน้า ใช้เทคโนโลยี หนุน SMEs จ่ายภาษีได้ง่ายขึ้น
นายลวรรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวภายในงานเสวนาคณะกรรมการภาษีสรรพากร “SMEs กับภาษียุคดิจิทัล” ซึ่งจัดขึ้น โดยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่า ขณะนี้เราเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) คือ กระบวนการที่นำเอาดิจิทัล เทคโนโลยี มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ และการกำหนดเป้าหมายการเติบโตในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในส่วนของกรมสรรพากรก็มีโจทย์ที่ท้าทายว่าทำอย่างไรให้กระบวนการเสียภาษีของไทยปรับตัวดียิ่งขึ้น สรรพากรหนึ่งองค์กรของภาครัฐที่อยู่แถวหน้า ใช้เครื่องมือ หรือระบบไอที ที่ทันสมัยมากที่สุด ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเก็บรายได้จากภาษีเข้ารัฐ โดยเป้าหมายรายได้ของกรมสรรพากรในปีงบประมาณ 2566 กำหนดไว้ที่ 2.02 ล้านล้านบาท ถือเป็นแรงกดดันของกรมสรรพากร
ทั้งนี้ SME ถือเป็นกลุ่มภาษีรายใหญ่ของกรมฯ ทั้งนิติบุคคล และบุคคธรรมดา ซึ่งกรมฯ ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ทำอย่างไรให้ภาคธุรกิจมีต้นทุนที่ถูกลง และเป็นธรรม ซึ่งสิ่งที่กรมฯ กำลังดำเนินการอยู่ คือ การปรับทรานส์ฟอร์มตัวเองในยุคดิจิทัลด้วยระบบ data large ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้เสียภาษี ทั้งในระดับมหภาค ถึงจุลภาค เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนา ใช้คาดการณ์ หรือใช้ประมวลผลลัพธ์ได้ จากเดิมที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
จากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ข้อมูลของผู้เสียภาษีทั้งหมด ถูกเก็บไว้เป็นโปรไฟล์ในระบบ data large เมื่อมีข้อมูลชุดนี้แล้ว จะทำให้กรมฯ รู้จัก ตรวจสอบ หรือรู้ถึงพฤติกรรมผู้เสียภาษีดียิ่งขึ้น และสามารถจัดกลุ่มความเสี่ยงผู้เสียภาษีได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีให้สูงขึ้น
“ต่อไปถ้าเรามี Tax layer profile จะทำให้เรารู้จักผู้เสียภาษีดีขึ้น สามารถจัดกลุ่มผู้เสียภาษีได้ตามความเสี่ยง ไม่ใด้ดูจากกระดาษเหมือนตอนนี้ ซึ่งสามารถทำได้กับทุกคน ตลอดเวลา หรือมีโอกาสเกิดความเสี่ยงต้องไหน ตรงนี้จะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพราะทุกอย่างได้ดำเนินการไปแล้ว ต้อนนี้ทำ POC อยู่คาดว่าจะเสร็จในเร็วๆนี้”นายลวรรณ กล่าว
สำหรับผู้ที่อยู่นอกระบบภาษีนั้น กรมฯได้นำเทคโนโลยียุคดิจิทัลซอฟแวร์ ที่มีความฉลาด สามารถเชื่อมโยงธุรกิรรมให้เห็นถึงพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าในระบบออนไลน์ สามารถชี้เป้าได้ว่า ใครมีธุรกรรม หรือรายได้จากซื้อขายออนไลน์ที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี ซึ่งในปีภาษีล่าลุด กรมฯได้ทำจดหมายไปยังกลุ่มผู้ค้าที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่เสียภาษีแล้วประมาณ 3- 4 หมื่นราย ซึ่งในแง่ของผลตอบรับอยู่ที่ 70% ถือว่าในระดับที่น่าพอใจ ถือเป็นการเตือนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ยังไม่ทราบว่าต้องเสียภาษี เป็นการลดความเสียหายจากเบี้ยปรับเพิ่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีความแม่นยำในการเสียภาษีมีมากขึ้น
นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ ผู้เสียภาษีที่จะได้รับบริการด้านภาษีมากขึ้น อาทิ ยกระดับบริการตอบคำถามผู้เสียภาษี โดยนำระบบ AI มาพัฒนาระบบ Chatbot หรือ น้องอารีย์ ผู้ช่วยอัจริยะเรื่องภาษีสรรพากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาช่วยในการตอบคำถามเพื่อลดความผิดพลาด และได้รับคำตอบที่ตรงกัน พร้อมเตรียมนำเรื่องกฎหมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกรมฯทั้งหมด ใส่ในชุดถังข้อมูล รวมทั้งจะนำคำพิพาษาของศาลภาษีที่เคยเป็นคดีความมาใส่ในฐานข้อมูลด้วย เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้นำมาเป็นตัวอย่าง และสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เสียภาษี
“ทุกคำถามที่เข้ามาจากผู้เสียภาษี จะได้คำตอบไปในทางเดียวกัน ใช่หรือไม่ใช่ ซ้ายหรือขาว เพื่อลดข้อผิดพลาด และสร้างความเข้าใจเรื่องภาษีได้ดียิ่งขึ้น วันนี้เรามี น้องอารีย์อยู่ แต่มีความรู้อยู่ที่ระดับ ม.5-ม.6 แต่สิ่งที่เราจะใส่ให้น้องอารีย์ไปจากนี้ จะทำให้น้องอารีย์ มีระดับความรู้ถึงระดับปริญาโท เพื่อมาให้ความรู้ทางกฎหมายมาตอบคำถามกับผู้เสียภาษีได้ดียิ่งขึ้น ” นายลวรรณ กล่าว
นายลวรรณ์ กล่าวต่อว่า กรมสรรพากร จะมีการพัฒนาการให้บริการด้านภาษีที่ดีขึ้น ผ่าน One Portal ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านภาษีทุกอย่าง ทั้งจดทะเบียน เสียภาษี คืนภาษี ไปจนถึงเรื่องโต้แย้งกับกรมฯ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่กรม ก็สามารถดำเนินการได้ โดยตั้งเป้าหมายให้บริการได้ในปี 2568-2569
ส่วนเรื่อง e-Tax invoice ที่พบว่า ยังมีอุปสรรค ไม่ได้รับการตอบสนองของผู้เสียภาษีนั้น เกิดจากปัญหาในหลายด้าน อาทิ มีความยุ่งยากในการใช้งาน ต้นทุนในการทำธุรกรรมสูง และ ช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมาเทคโนโลนีมีการปรับเปลี่ยนรวดเร็ว
ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ และเป็นสิ่งที่กรมอยากให้เกิดขึ้น คือ การใช้กลไกล ของ Tax Service provider หรือผู้บริการด้านภาษี ซึ่งปัจจุบันยังมีน้อย หรือกว่า 20 รายเท่านั้น วันนี้เรากำลังใช้กลยุทธ์ให้ Tax Service provider มาช่วยในเรื่องดำเนินการทางภาษีแทนผู้เสียภาษี อาทิ เสียภาษี ทำบัญชี ประเมินภาษี นำส่งภาษี และคืนภาษี ไปจนถึงนำส่งข้อมูลภาษีบริษัทให้กรมสรรพากร ให้กับธุรกิจ ซึ่งต่อไปส Tax Service provider จะทำหน้าที่ได้มากกว่าเดิม ซึ่งเป้าหมายการเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการ จะทำให้เกิดการแข่งขัน และค่าบริการลดลง เพราะเป็นตัวเลือกที่หลากหลายของผู้เสียภาษี
“ใครบ้างที่เป็น Tax Service provider ได้ 1. คือ กลุ่ม Tax Service provider เดิมที่ทำหน้าที่อยู่แล้ว 2. กลุ่มทำงบบัญชี 3. กลุ่มซอฟแวร์เฮ้าส์ ซึ่งกลุ่มนี้กรมฯได้การรับรองไปประมาณ 20 บริษัทแล้ว 4.ธนาคาร ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะอัพเกรดตัวเอง จากเดิมที่ส่งข้อมูลธุรกิจให้กรมฯอย่างเดียว ต่อไปจะทำหน้าที่ช่วยเรื่องภาษีได้มากขึ้น” นายลวรรณ กล่าว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.