ย้อนรอยผลงาน 10 ปี "สมชัย " AIS กับ ความท้าทาย ซีอีโอคนใหม่ที่ต้องเผชิญ

ยังคงเป็นปริศนา แม้ “พี่เล็ก สมชัย เลิศสิทธิวงค์ ” อยู่ในตำแหน่งซีอีโอ AIS  ที่ต่ออายุมา 2 ปี หลังเกษียณ และหมดวาระการต่ออายุไปแล้วเมื่อวันที่ 1  ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา แถมเขายังควบตำแหน่ง ประธานบรอ์ด OR อีกตำแหน่ง วงในระบุ คาด “พี่เล็ก สมชัย” นั่งตำแหน่งต่อถึงสิ้นปี รอคนเหมาะสมขึ้นตำแหน่ง 

พี่เล็ก สมชัย เลิศสิทธิวงค์ นั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ครบ 10 ปี แล้ว หลังจากอยู่ในวาระ 2 ปี ๆ ละ 4 ปี และได้รับการต่ออายุหลังเกษียณอีก 2 ปี ซึ่งได้ครบกำหนดการต่ออายุไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา แต่หลายคนยังคงเห็น พี่เล็ก สมชัย นั่งบริหารงานใน AIS อยู่ ควบกับตำแหน่งที่เพิ่งได้รับไป คือ ประธานกรรมการบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR

แน่นอนว่า สิ่งที่แวดวงธุรกิจกำลังจับตามองคือ ใคร จะเป็น ซีอีโอ คนต่อไป ของ AIS หรือ พี่เล็ก สมชัย จะยังคงต่ออายุไปอีก ?

พี่เล็ก สมชัย กับการเปิดตัวบริการคลาวด์

โพสต์ทูเดย์ พาย้อนรอยการทำงานของพี่เล็ก สมชัย ในตำแหน่ง ซีอีโอ 10 ปี ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2557 ที่เข้ารับตำแหน่ง AIS มีรายได้รวมอยู่ที่ 149,329 ล้านบาท จนถึงปี 2566 AIS มีรายได้ 188,873 ล้านบาท และผลประกอบการล่าสุด ไตรมาส2/2567 รายได้รวมอยู่ที่ 51,332 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 8,577 ล้านบาท 

ขณะที่เงินปันผลตั้งแต่ปี 2557 อยู่ที่ 12 บาท/หุ้น ปัจจุบันในปี 2566 อยู่ที่ 8.61 บาท/หุ้น ส่วนเงินปันผลครึ่งปีแรก 2567 อยู่ที่ 4.87 บาท/หุ้น

ภารกิจเปลี่ยนผ่าน AIS สู่ ผู้ให้บริการดิจิทัล

พี่เล็ก สมชัย เคยเล่าในครั้งที่ได้รับตำแหน่งซีอีโอใหม่ๆว่า “ในวันที่ 1 ก.ค.2557 ที่ผ่านมาผมได้รับการแต่งตั้งให้มาเป็น CEO ต่อจากคุณวิเชียร เมฆตระการ โดยนโยบายหลักของผมที่จะพาองค์กรของเราให้เติบโตไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองจาก Telecom Service Provider เป็น Digital Life Service Provider ”

ดังนั้นการเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลได้นั้นต้องเกิดจากการพัฒนา 3 ส่วน คือ 1. โครงข่าย 3G และเทคโนโลยี 4G  2. ธุรกิจ Fixed Broadband เริ่มเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในตันปี 2558 และ 3. Dital Content ต่างๆที่ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อให้บริการของเราตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด

ปี 2557 AIS ได้สร้างโครงข่ายคุณภาพ 3G-2.1GHz ให้มีความครอบคลุมทั่วประเทศ AIS สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเชิงรายได้โดยมีผลจากบริการอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเติบโต 57 % จากนั้นมา AIS ก็ได้เดินหน้าประมูลคลื่นความถี่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีคลื่นอยู่ในครอบครอง 1,420 MHZ และคลื่นความถี่ที่จ่ายแพงสุด คือ คลื่น 900 MHz ด้วยมูลค่าคลื่น 75,654 ล้านบาท

พี่เล็ก สมชัย กับการทำงานร่วมกับ กัลฟ์

พี่เล็ก สมชัย เล่าต่อว่า AIS อยู่ในตลาดมา 34 ปี ใช้เวลากว่า 20 ปี จนประมูลคลื่นแรกได้ในปี 2556 นั่นคือ คลื่น 2100 MHz และ AIS ก็ประมูลเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2557 AIS มีบริการ Fixed Broadband แม้ว่า AIS มีลูกค้าองค์กรตั้งแต่วันแรกแล้ว แต่ก็เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ AIS เริ่มรุกตลาดองค์กรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 และใช้เวลา เพียง 8 ปี AIS ก็สามารถมีกลุ่มธุรกิจคลาวด์ขึ้นมาเป็นแห่งแรกที่มีการเก็บข้อมูลไว้ในประเทศ

เปิดประวัติ พี่เล็ก สมชัย

แม้ว่า พี่เล็ก สมชัย อยู่ในตำแหน่งซีอีโอ มา 10 ปี แต่เขาก็คือลูกหม้อ AIS ที่ทำงานมากว่า 30 ปี ปี โดยเขาเริ่มอาชีพด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมและวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จากนั้นจึงก้าวเข้าสู่ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ในปี 2533 และเข้ามาทำงานใน AIS จนถึงปัจจุบัน

ตำแหน่งปัจจุบัน

กรรมการ
กรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
กรรมการบริหาร
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

สัดส่วนการถือหุ้น (%) 

0.0040

ประสบการณ์ทำงาน

เมษายน 2567 - ปัจจุบันกรรมการอิสระบมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก

เมษายน 2567 - ปัจจุบันกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืนบมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก

2563 - ปัจจุบันรักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

2557 - ปัจจุบันกรรมการ กรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน กรรมการบริหารประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

2555 - 2557 กรรมการ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาดบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

2550 - 2555 รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาดบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

2547 - 2550 ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สายบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การผ่านหลักสูตรอบรมของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 107/2552

สารัชถ์ รัตนาวะดี ซีอีโอ กัลฟ์

ความท้าทายของ ซีอีโอ ใหม่ ใต้ร่ม กัลฟ์ ที่ต้องเผชิญ

เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH มีการควบรวมกัน และจะจัดตั้งเป็น “บริษัทใหม่” (NewCo) ในไตรมาส 2 ปี 2568 และภายหลังการจัดตั้ง NewCo จะเข้าถือหุ้นโดยตรงใน AIS ทำให้ทิศทางของ AIS จะเปลี่ยนเป็นธุรกิจที่มีความผสมผสานกับธุรกิจด้านพลังงานของ GULF ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจดาต้าเซนเตอร์, ธุรกิจคลาวด์ และธุรกิจวอลชวลแบงก์ 

การควบรวมดังกล่าวเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำในการขยายงานด้านธุรกิจพลังงาน สู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และ ธุรกิจโทรคมนาคม ในการเน้นต่อยอดธุรกิจดิจิทัลมากขึ้น

ดังนั้น ซีอีโอ คนถัดไป ที่จะมานั่งตำแหน่งต่อจาก พี่เล็ก สมชัย ต้องสามารถผสานศักยภาพตามเป้าหมายที่ GULF วางไว้ให้ได้

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.