ทรูฯ ใช้ AI ปั้นรายได้ธุรกิจ คาดมีสัดส่วน 30% ของบริการดิจิทัล
นายเอกราช ปัญจวีณิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านดิจิทัล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยให้ทรู ดิจิทัล สามารถทรานฟอร์มประสบการณ์ลูกค้าได้อย่างสิ้นเชิงในทุกบริการ ตอกย้ำความตั้งใจของทรู ดิจิทัล ในการผลักดันการใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนลดช่องว่างและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
คาดภายใน 3 ปีข้างหน้า รายได้จากบริการดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI คิดเป็นสัดส่วน 30% ของบริการดิจิทัล
ทั้งนี้ หลักการออกแบบ AI คือการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ที่มาจากหลากหลายแหล่ง บนพื้นฐานของจริยธรรมและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยี AI สามารถนำมาสร้างระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์อย่างมีจริยธรรม ด้วยมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง โดยมีการนำไปใช้จริงแล้วในหลากหลายกรณีศึกษา สะท้อนชัดถึงศักยภาพของทรู ดิจิทัลในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ผลักดันให้ก้าวขึ้นเป็น Data-AI Integrator ที่สามารถบูรณาการเทคโนโลยี AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าสู่ยุค AI First ได้อย่างเต็มรูปแบบ
ดังนั้น ทรู ดิจิทัล มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะช่วยทรานสฟอร์มธุรกิจให้ก้าวสู่ AI อย่างก้าวกระโดด โดยดึงอัจฉริยภาพและคุณสมบัติที่โดดเด่นของเทคโนโลยี AI ด้านความเชี่ยวชาญในการประมวลผลและวิเคราะห์ฐานข้อมูลมหาศาล มาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำข้อมูลจากหลากแหล่งมาวิเคราะห์และประมวลผลเชิงลึก เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเสริมแกร่งการเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิทัลได้อย่างตรงใจ พร้อมยกระดับประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล (hyper-personalized) เพิ่มผลิตผล รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
ด้านนายปิยะพันธุ์ นาคะโยธิน หัวหน้าสายงานด้านบริการลูกค้า ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับจุดเปลี่ยนในการยกระดับประสบการณ์ลูกค้า ซึ่ง ทรู ได้พัฒนานวัตกรรมผู้ช่วยบริการลูกค้า AI อัจฉริยะ “Mari” (มะลิ) ที่สามารถให้บริการทั้งในระบบแชต และบริการแบบเสียงโดยใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ จดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ True Voice
ปัจจุบัน ทรู ได้เริ่มให้บริการลูกค้าบางกลุ่มผ่านระบบเสียงของ Mari และจะขยายบริการสู่กลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น ควบคู่กับศักยภาพและความสามารถของ Mari ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการได้เรียนรู้และสื่อสารกับผู้ใช้บริการทรู ยิ่งไปกว่านั้น Mari ยังเป็นผู้ช่วยบริการลูกค้าอัจฉริยะ AI หนึ่งเดียวในธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทยที่มีความสามารถในการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้าด้วยน้ำเสียงและภาษาที่เป็นธรรมชาติเสมือนมนุษย์ และสามารถให้ความช่วยเหลือ เช่น เปรียบเทียบแพ็กเกจบริการที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า
ขณะที่นายบัณฑิต แพงป้อง หัวหน้าสายงานด้านไอทีและความปลอดภัย ทรู คอร์ปอเรชั่น เล่าถึงเทคนิคของทีมงานทรู คอร์ปอเรชั่น ที่นำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้ในการพัฒนาโซลูชันให้สำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วยิ่งขึ้น AI ช่วยลดเวลาการทำงานจากเดิมที่เคยใช้ระยะเวลาเป็นวันๆ หรือหลายสัปดาห์ ให้เหลือเพียงภายในไม่กี่ชั่วโมง อีกทั้งการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ขึ้นเองภายในบริษัท ยังทำให้มั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ตลอดจนช่วยให้นักพัฒนาของเราสามารถต่อยอดสร้างสรรค์และส่งมอบโซลูชันใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วเพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้า
นอกจากนี้ AI ยังทำหน้าที่ได้เสมือนเป็นหนึ่งในเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเสริมกำลังและเติมเต็มทีมงานที่ให้บริการลูกค้า ขณะที่ลูกค้า จะได้รับบริการผ่านระบบแชตของ Mari ที่สามารถช่วยเปรียบเทียบดีไวซ์ หรือแม้กระทั่งช่วยแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคให้แก่ลูกค้าด้วยน้ำเสียงและภาษาที่เป็นธรรมชาติเสมือนมนุษย์
นางสาวศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้แบ่งปันมุมมองถึงแนวทางในการทรานสฟอร์มวัฒนธรรมองค์กร จากการเป็นองค์กรดิจิทัลก้าวล้ำไปสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI อย่างแท้จริง โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถด้านดิจิทัลมากกว่า 5,000 คนภายในปี 2568 องค์กรจำนวนมากในประเทศไทย มีศักยภาพพร้อมประยุกต์ใช้ AI หรือ ‘AI Ready’ ซึ่งหมายความว่าองค์กรเหล่านี้มีข้อมูล (ดาต้า) ที่ถือครองเป็นของบริษัทและมีการริเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ
แต่การที่จะเป็น 'AI-First' และสามารถนำ AI มาขับเคลื่อนองค์กร ตลอดจนพัฒนานวัตกรรมบริการต่างๆ ได้นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร จากเดิมที่ใช้ประสบการณ์เป็นพื้นฐานหรือมีผู้นำในการตัดสินใจ ไปสู่การตัดสินใจบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ ซึ่งหากเราได้เห็นทีมงานที่พัฒนานวัตกรรม Mari ผู้ช่วยบริการลูกค้า AI อัจฉริยะ จะเห็นได้ว่าเป็นทีมงานที่มาจากแผนกต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันอย่างคล่องตัว ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านไอที การวิเคราะห์ข้อมูล การยกระดับประสบการณ์และงานบริการลูกค้า หรือแม้แต่หน่วยงานโรโบติกส์ที่พัฒนาหุ่นยนต์ Mari รุ่นใหม่ในรูปแบบ Humanoid
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งองค์กรที่จะเป็น AI First จำเป็นต้องมีผู้บริหารระดับสูง (C-Suite) ที่เข้าใจในเทคโนโลยีใหม่นี้ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกลพอที่จะดึงเทคโนโลยี AI มาใช้ขับเคลื่อนองค์กร
ทั้งนี้ นวัตกรรมโซลูชัน AI ของทรู คอร์ปอเรชั่นนี้ เกิดขึ้นภายใต้ทิศทางการดำเนินธุรกิจที่บริษัทได้ประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยชี้ให้เห็นว่า AI มีความสำคัญอย่างไรที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายและความมุ่งมั่นในการสร้างโครงข่ายที่ทันสมัยและเหนือชั้น สามารถนำเสนอบริการในรูปแบบ Omnichannel พร้อมตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้แบบเฉพาะบุคคล ตลอดจนสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งโชว์เคสและตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ ในงาน ‘AI Gets Real’ นี้ ตอกย้ำจุดยืนของบริษัทในฐานะผู้นำบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีที่สามารถพัฒนานวัตกรรมโซลูชันเพื่อส่งมอบคุณประโยชน์และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริโภคและสังคมไทย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.