พิษโควิด ทำคนไทยหนี้ พุ่ง 12.9 ล้านล้านบาท

นายดนุชา พิชยนันท์  เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไทยจากข้อมูล จากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ NCB ไตรมาส1 ปี 2566 พบว่า หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 12.9 ล้านล้านบาท โดยมีบัญชีสินเชื่อในระบบประมาณ 83.1 ล้านบัญชี ซึ่งในช่วง COVID-19 ครัวเรือนมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหนี้ครัวเรือนขยายตัวที่ 5.7 3.8% และ 4.2% ระหว่างปี 2563 – 2565  

 

โดยประเภทหนี้ที่มีการขยายตัวสูงที่สุด คือ หนี้ที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวเฉลี่ย  5.9% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกันรองลงมาเป็นหนี้อื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อที่ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ ที่ขยายตัวเฉลี่ย  5.7% ต่อปี และหนี้ส่วนบุคคลขยายตัว 5.4% หนี้บัตรเครดิต2.8%  และหนี้รถยนต์ที่ 1.1%  

 

ด้านความสามารถในการชำาระหนี้ พบว่า NPL หรือหนี้ที่มีการค้างชำระมากกว่า 3 เดือน ในปี 2563หดตัว  7.7% และทำให้สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 7.4% ลดลงจาก  8.5% ในปี 2562 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินและมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วง COVID-19 ที่ช่วยชะลอการเป็น NPL ขณะที่ในปี 2564 และ 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เริ่มสิ้นสุดลง สัดส่วน NPLต่อสินเชื่อรวมจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น  7.7% และ 7.6% ตามลำดับ 

 

ทั้งนี้ หนี้ที่มีปัญหามากที่สุด ในปี 2565 คือหนี้อื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 14.3 %รองลงมาเป็นหนี้บัตรเครดิต  9.8% หนี้ส่วนบุคคล 9.2% หนี้รถยนต์  7 %และหนี้ที่อยู่อาศัยที่ 3.5%

 
สำหรับ หนี้ที่ค้างชำระระหว่าง 1 - 3 เดือน(SML) พบว่า มีมูลค่าลดลงในปี 2563 ที่  24.7% และขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง  42.7% ในปี 2564 และ  22 % ในปี 2565 ซึ่งมีมูลค่ากว่า 5.2 แสนล้านบาท ถือเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ที่มีมูลค่าเพียง 3.3 แสนล้านบาท 
 

 

ทั้งนี้ ภาพรวมสัดส่วนSML ต่อสินเชื่อรวมปี 2565 อยู่ที่ 4%ซึ่งสัดส่วน SML ต่อสินเชื่อรวมในหนี้รถยนต์สูงที่สุดถึง  7.5% รองลงมาเป็นหนี้ส่วนบุคคล4.6%  หนี้ที่อยู่อาศัย 2.8%  หนี้อื่น ๆ  2.6% และหนี้บัตรเครดิต 1.7%  

 

"สิ่งที่ต้องความสำคัญ คือ สินเชื่อส่วนบุคล สินเชื่อบัตรเครดิต ที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้สินเชื่อรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน และต้องระวังสินเชื่อการซื้อขายบ้านมืองสอง พบว่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่ผู้ขายบอกรายละเอียดไม่ครบทำให้เกิดเรื่องร้องเรียนตามมามากขึ้น" นายดนุชา กล่าว

 

ขณะที่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้จำแนกตามวัตถุประสงค์ และกลุ่มอายุ พบว่า

1. ทุกกลุ่มอายุมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 โดยกลุ่ม 40 - 49 ปี มีมูลค่าหนี้สินคงค้างสูงที่สุดในช่วงปี 2563 - 2565 โดยปี 2565 มีมูลค่าหนี้คงค้าง 3.9 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 30 - 39 ปีที่ 3.6 ล้านล้านบาท แต่หากพิจารณาการขยายตัว พบว่าหนี้ของกลุ่มผู้สูงอายุขยายตัวสูงที่สุด ซึ่งในระหว่างปี 2563 - 2565 ขยายตัวเฉลี่ยถึง 7.9%  ต่อปี

 

ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาโครงสร้างหนี้แต่ละช่วงวัยยังพบว่า แต่ละกลุ่มมีภาระหนี้ที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี มีสัดส่วนอยู่ที่ 41.2% กลุ่มอายุ 30 – 39 ปีมีสัดส่วนอยู่ที่ 50.3%  และกลุ่ม 40 – 49 ปีอยู่ที่ 41.1%  ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่อยู่อาศัย 

 

ขณะที่กลุ่มอายุ 50 - 59 ปีและกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นหนี้อื่น ๆ หรือสินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อที่ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงถึง 41.4% ในปี 2562 และเพิ่มเป็น 42.2% ในปี 2565

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.