ไทยเวียตเจ็ท มุ่งปรับปรุงบริการด้วยแชทบอทปัญญาประดิษฐ์

ผลจากความสามารถในการเสริมสร้างความมั่นคงในการดำเนินงาน ไทยเวียตเจ็ทประสบความสำเร็จในการรักษาอัตราการตรงต่อเวลา (OTP) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดสำหรับการปฏิบัติการบินที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการบิน ในไตรมาสที่ 2/2566 อัตราการตรงต่อเวลาของไทยเวียตเจ็ทอยู่ที่ร้อยละ 82 ในขณะที่ อัตราการตรงต่อเวลาเฉลี่ยของไตรมาสที่ 4/2565 และไตรมาสที่ 1/2566 อยู่ที่ร้อยละ 59 และร้อยละ 68 ตามลำดับ ในแง่ของอัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิค ไทยเวียตเจ็ทยังคงรักษาอยู่ที่ร้อยละ 99.68 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เป็นบวกอย่างมากในอุตสาหกรรมการบิน

ด้วยความสำเร็จในการเสริมสร้างเสถียรภาพในการปฏิบัติการและการดำเนินงาน รวมทั้งความมั่นคงด้านการดำเนินธุรกิจ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ไทยเวียตเจ็ทเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวม 3.04 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ร้อยละ 10.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศ มีอัตราการเติบโตของผู้โดยสารที่ร้อยละ 884 โดยมีผู้โดยสารบนเส้นทางระหว่างประเทศมากกว่า 729,000 คนในช่วงครึ่งแรกของปี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 ไทยเวียตเจ็ทมีจำนวนผู้โดยสารสะสมถึง 21.54 ล้านคน นับตั้งแต่การให้บริการเที่ยวบินแรกในปี 2559

ในแง่ของรายได้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ไทยเวียตเจ็ทมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 103.63 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2565 โดยรายได้รวมแบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายตั๋วโดยสารร้อยละ 73.20 และรายได้จากบริการเสริมและบริการบนเครื่องบินมีร้อยละ 26.72

มุ่งปรับปรุงบริการด้วยแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ไทยเวียตเจ็ทยังได้เปิดใช้งานช่องทางการติดต่อที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้าสามารถรับบริการจากสายการบินฯ ได้โดยตรง รวมถึง ‘Amy Chatbot’ – แชทบอทปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถจำลองการสนทนาทันทีกับผู้โดยสารทางออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง 

ผู้โดยสารสามารถสนทนากับ Amy Chatbot เพื่อจัดการการจองหรือสอบถามข้อมูลการเดินทางที่จำเป็นได้อย่างสะดวก ด้วย Amy Chatbot ไทยเวียตเจ็ทประสบความสำเร็จในยกระดับอัตราความพึงพอใจของลูกค้า โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 อัตราความพึงพอใจของลูกค้าอยู่ที่ร้อยละ 90.0 เทียบกับร้อยละ 83.0 ในช่วงเดียวกันของปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.43 

ในขณะที่อัตราการใช้บริการของ Amy Chatbot ที่ประสบความสำเร็จในครึ่งแรกของปี 2566 และครึ่งแรกของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 87.6 และร้อยละ 78.6  ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.54 ภายในสิ้นปี 2566 สายการบินมีเป้าหมายที่จะยกระดับอัตราความพึงพอใจของลูกค้าและอัตราการใช้บริการที่ประสบความสำเร็จของ Amy Chatbot เป็นร้อยละ 95.0 และร้อยละ 90.0 ตามลำดับ

นอกจากนี้ ในด้านศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) ไทยเวียตเจ็ทยังประสบความสำเร็จในการลดเวลารอสายโดยเฉลี่ยเหลือ 48 วินาที (ณ เดือนมิถุนายน 2566) เทียบกับ 160 วินาทีในเดือนมิถุนายน 2565 ในขณะที่อัตราการโทรสำเร็จเฉลี่ยของเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 95.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.01 ด้วยอัตราการโทรที่สำเร็จสูงนี้ สายการบินมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.70 จากการทำธุรกรรมผ่านศูนย์บริการลูกค้า

สานต่อกิจกรรม คืนกำไรสู่ชุมชน

นอกจากนี้ ไทยเวียตเจ็ทยังได้เปิดตัวแคมเปญต่างๆ ภายใต้กองทุน ‘Fly Green Fund’ เพื่อสังคมและชุมชน ซึ่งกองทุน ‘Fly Green Fund’ ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 โดยความร่วมมือกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มีภารกิจหลักในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย

สายการบินได้นำเสนอแคมเปญต่าง ๆ มากมาย รวมถึง กิจกรรม ‘การ์เบจ ฮันเตอร์ (Garbage Hunter)’ ซึ่งสายการบินฯ ได้จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเพื่อกำจัดขยะจากสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย และกิจกรรม 'เมโทร ฟอร์เรส (Metro Forest)' ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของประเทศไทย และรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.