แช่น้ำแข็งเยียวยาบาดแผลทางจิตใจ สร้างความสุขให้ร่างกายได้เหมือนสารเสพติด?

On The Way With Chom สัปดาห์นี้ พาไปพบกับเรื่องของการแช่น้ำแข็งเยียวยาบาดแผลทางจิตใจ สร้างความสุขให้ร่างกายได้เหมือนสารเสพติด? สู่ทฤษฎีเปลี่ยนชีวิต ฝึกหายใจแบบ Wim Hof Method สร้างชีวิตใหม่ที่แข็งแกร่งทั้งภูมิคุ้มกันร่างกายและจิตใจ แชร์ความรู้โดย “แก้ม วริศรา” ซึ่งเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับรองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนวิธี Wim Hof Method

Wim Hof Method คืออะไร ?

แก้ม วริศรา : คือวิธีการของ Wim Hof เขาเป็นคนคิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมา เขาก็เลยเรียกวิธีการของ Wim Hof Method เลยละกัน ก็เลยเป็น Wim Hof Method ในวิธีการของเราก็จะประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ที่เป็นการฝึกหายใจแบบ Wim Hof การแช่น้ำแข็ง หรือว่า Cold Exposure เราจะใช้เป็นการสัมผัสความเย็น แล้วก็เป็นการฝึก Mindset หรือฝึกความคิด พอรวมกันทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน ก็คือวิธีการของ  Wim Hof

ควรจะต้องเริ่มจากตรงไหน ?

แก้ม วริศรา : สิ่งที่สำคัญที่สุดเลย วิธีการของ Wim Hof ก็คือการฝึกความคิด คือเราต้องเตรียมความคิด เตรียม Mindset ของเรามาตั้งแต่แรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง บางคนสุขภาพดีอยู่แล้วไม่ได้มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับเส้นเลือด เราสามารถฝึกได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดก้าวข้ามความคิดของตัวเองมาก่อน เราถึงจะทำได้ เหมือนเปิดใจ

สำหรับชมรู้สึกว่ายังเป็นอุปสรรคที่ยังไม่สามารถไปลองได้สักที ยังไม่สามารถที่จะปรับให้มันเข้ากับไลฟ์สไตล์ได้ ตอนนี้ก็เลยใช้วิธีไปเข้าตู้ ซึ่งก็รู้สึกว่าคือหลาย ๆ คนที่เคยทำมาทั้งสองแบบนะ ก็จะบอกว่า ยังไงแช่ไปเลย มันพีคกว่า ?

แก้ม วริศรา : ความรู้สึกก็อาจจะต่างกัน เพราะว่าน้ำมันเป็นสื่อนำได้ดีกว่า เวลาที่เราลงปุ๊ปก็เห็นผล ร่างกายของเราได้รับโดยตรงเลย จริง ๆ แล้วประโยชน์จากการแข่น้ำแข็ง เกิดจากการได้ Cold shock proteins เราได้รับตั้งแต่ตอนที่ลง

สำหรับคนที่ไม่เคยทำเลย จะเริ่มต้นเองได้ไหมที่บ้านแบบสั่งน้ำแข็งมาแล้วก็ลงไปเลย ?

แก้ม วริศรา : ต้องบอกก่อนว่า การแช่น้ำแข็งแบบ Wim Hof มันคือการฝึกอย่างหนึ่ง เราได้รับประโยชน์จากเขา ต้องฝึกด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ถึงจะได้รับความปลอดภัยจากตรงนั้น บางทีเราลงเลย ก็อาจจะไม่รู้ว่า ต้องลงยังไง แค่ร่างกายเราเปลี่ยน การหายใจเราเปลี่ยนเมื่อไหร่ มันก็อาจจะอันตรายก็มี

เท่าที่เคยได้ยินมาก็คือว่า มันต้องมีการหายใจด้วย อาจจะก่อนแช่น้ำแข็ง แล้วก็ตอนที่อยู่ในนั้น ?

แก้ม วริศรา : เราจะใช้การควบคุมการหายใจแบบอื่น

แปลว่าที่เห็นคนเขาลงกันตามโซเขียลมีเดีย แปลว่าเขาก็ต้องมีการฝึก อย่างน้อยก็คือเบื้องต้นก่อน ?

แก้ม วริศรา : ใช่ หรือว่าตามโซเชียลมีเดียที่เราเห็น เขาอาจจะแช่เหมือนเราเห็นนักกีฬา เดี๋ยวนี้ทีมฟุตบอลเขาแช่กัน หรือนักวิ่ง เขาจะแช่น้ำแข็งตามส่วนอย่างนี้ค่ะ แช่เพื่อลดการอักเสบบ้าง หรือว่าช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อก็ได้ แต่ว่าเขาออาจจะไม่ได้แช่ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง แต่สำหรับเรา เวลาที่เราฝึก จะสอนว่า เวลาที่แช่น้ำแข็ง ทำอย่างไรกับร่างกาย ทำยังไงกับความคิด แล้วเราจะได้รับประโยชน์จากตรงนั้นอีกทีหนึ่ง

คือจะได้มากกว่า ลดการอักเสบ มากกว่าการซ่อมแซมหรือฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งอย่างที่คุณแก้มบอก Wim Hof Method ก็คือเริ่มจากปรับความคิดก่อน มันต้องเตรียมใจยังไง ?

แก้ม วริศรา : วิธีการ Wim Hof คือ 3 เสาหลัก แก้มจะให้ทุกคนมาปรับความคิดตัวเองก่อน หลายคนมาด้วยเหตุผลต่างกัน บางคนอยากจะมาแช่น้ำแข็ง บางคนอยากจะมาฝึกหายใจ อยากรู้ว่าการหายใจแบบ Wim Hof มันเป็นยังไง การฝึกความคิด มันช่วยเรื่อองความคิดของตัวเองอย่างไง เราก็จะปรับตั้งแต่แรกเลย จะฝึกเรื่องความคิด ฝึกให้เขารู้ว่าวันนี้เขาจะต้องเจออะไรบ้างแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนไป และจะใช้เวลาเรียน workshop ปกติของแก้ม 6 ชั่วโมง เพราะว่าเราจะต้องเตรียมพร้อม เตรียมกาย เตรียมใจตั้งแต่แรก เราจะมาเรียนรู้กันว่า เราแช่เพราะอะไร แก้มจะได้บอกว่า สมมติคุณชมอยากแช่เพราะอยากลองดู เราก็จะรู้ว่าเวลาลองแล้วเรารู้สึกอย่างไง ชอบไหม รู้สึกดีทางไหน อะไรอย่างนี้ บางคนก็จะมาเพื่อฟื้นฟู บางคนเป็นนักกีฬา เขาอยากจะรู้ว่า เขาแช่ถูกต้องไหม เขาต้องแช่นานเท่าไหร่ เริ่มเรียนรู้กันก่อน เวลาที่ลงในน้ำแข็งต้องหายใจยังไง ต้องทำร่างกายเรายังไง

Wim Hof ที่เราเรียกเขาว่า Iceman คืออะไรดลบันดาลให้เขามาค้นหาวิธีนี้ แล้วก็อยากที่จะเอาชนะขีดจำกัดของร่างกายตัวเองขนาดนี้  ?

แก้ม วริศรา : คือจริง ๆ แล้ว Wim Hof คิดวิธีการนี้ด้วยตัวเอง เขาเป็นคนดัชต์ เป็นคนอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ เขาจะชอบลงไปแช่ในน้ำแข็ง ที่แม่น้ำแถว ๆ บ้านเขา แต่พอเขาลงแล้วรู้สึกดี การเจอความเย็นมันทำให้เขารู้สึกดี แต่เขาก็ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่ชอบความรู้สึกนี้ ก็ทำมันเรื่อย ๆ เป็นกิจวัตรประจำวัน จนคนเริ่มมาเห็น แล้วก็แบบ คุณทำอะไร ก็จะมีหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์เขา รายการโทรทัศน์อะไรอย่างงี้ คุณ Wim Hof ก็ อธิบายไม่ถูกหรอกว่ามันคืออะไร แต่ว่าเขาสามารถทำได้ อะไรอย่างนี้ ทีนี้ก็จะมี คุณทำแบบนี้สิ คุณลงน้ำแข็งสิ คุณเดินเท้าเปล่าบนหิมะสิ

เหมือนกับว่าก็มีคนท้าทายให้เขา เอาชนะขีดจำกัดเดิมของตัวเองตลอดเวลา ?

 

แก้ม วริศรา : คุณ Wim Hof เขาฝึกเป็นประจำอยู่แล้ว ทีนี้พอถึงช่วงหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์ภรรยาของเขาฆ่าตัวตาย จากภาวะซึมเศร้า เขาเสียใจมาก คิดว่าวิธีการอะไรที่เขาทำอยู่ตอนนี้อาจจะช่วยได้ ก็เลยแช่น้ำแข็ง แล้วก็ฝึกหายใจเพื่อทนทาน เพื่อจะรับมือกับความเสียใจของเขาได้ ก็เลยทำมาเรื่อย ๆ เพราะเขาต้องใช้ชีวิตอยู่เพื่อลูก

ก็คล้าย ๆ การทำสมาธิเหมือนกันนะ ?

แก้ม วริศรา : คล้าย ๆ จุดที่เป็น Iceman เพราะเขาทำลายสถิติของเขา เดินโดยใส่แค่กางเกงว่ายน้ำกับรองเท้าแตะ เดินขึ้นเขาเอเวอร์เรสต์ แล้วก็วิ่งมาราธอนเท้าเปล่า ที่ Arctic circle ชาตัวอยู่ในกล่องที่เติมน้ำแข็งลงไป สถิติของ Wim Hof ประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที ทุกคนคิดว่าเขาประหลาด แต่จริง ๆ แล้ว คุณ Wim Hof คือ เขาฝึกตัวเขาเอง เขาฝึกทั้งความคิดแล้วก็ร่างกายของเขา คุณ Wim Hof เขาจะบอกว่า อะไรที่เขาทำได้ ทุกคนทำได้หมดอยู่ที่การฝึกฝนของเรา

อย่างเราปุถุชนธรรมดา ถ้าจะเข้า Ice bath คือต้องแข่ยังไง อุณหภูมิเท่าไหร่ ได้ยินมาบางที่ก็บอก 13 องศา บางที่ก็บอก 0 องศา ?

แก้ม วริศรา : ในการศึกษามาค่ะ วิทยาศาสตร์ ice bath หรือว่าการสัมผัสความเย็น แช่ตัวในน้ำเย็นต่ำกว่า 15 องศา เราได้รับประโยชน์แล้ว เราไม่ต้องให้มัน 0 องศาแบบนั้นก็ได้ ถ้าอยากให้ได้ผลดีที่สุดก็คือต่ำกว่า 9 องศา อันนี้คือเราก็จะได้รับประโยชน์หมดแล้ว แต่ว่าในการฝึกของเรา มันคือการเทรนร่างกายเนอะ เราก็จะใช้ความเย็นจัดเป็น 0 องศา

แล้วเอาจริง ๆ เราทนได้เหรอ ?

แก้ม วริศรา : ได้ ร่างกายของเราฉลาด เขารู้ว่าเขาต้องทำยังไง เวลาที่เผชิญหน้ากับความเครียดต่าง ๆ สามารถรับมือได้ แต่สิ่งที่เราต้องสู้ คือความคิดล้วน ๆ

แล้วเคยมีเคสที่เกิดอันตรายไหม ?

แก้ม วริศรา : ไม่มีเลย เราสอนวิธีนี้ในไทยมา 5 ปี สอนคนไทยมาเกือบ 3 พันคน 99% ทำได้หมด ทำได้ดีด้วย

แล้ว 1% ที่ทำไม่ได้คืออะไร ?

แก้ม วริศรา : 1% ที่ทำไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นนักกีฬา เป็นนักมวย เพราะเขาก็จะเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้ อะไรที่มาชนเขาจะสู้กลับ

การตอบสนองของเขา เขาถูกฝึกมาอีกแบบหนึ่ง ?

แก้ม วริศรา : ใช่ พออะไรที่มันมาปุ๊ป เขาก็จะแบบ ฉันจะสู้กลับ ทีนี้พอเขาเจอการแช่น้ำแข็งปุ๊ป เขาจะสู้หมดเลย พอเขาทนไม่ได้แล้ว เขาก็จะขึ้นมา ขึ้นมาเสร็จก็จะเตะถังน้ำแข็ง แล้วก็ลงไปใหม่ อย่างนี้ แล้วเราก็จะแบบ ใจเย็น ๆ คุณต้องเปลี่ยนตรงนี้ก่อน แค่นั้นเลย แต่ที่เหลือก็คือได้หมด

อย่างนี้ก็แปลว่าเราซื้อมาแช่เองที่บ้านไม่ได้ใช่ไหม ?

แก้ม วริศรา : ไม่แนะนำ ถ้าเรายังไม่มีความรู้เลยว่าเราแช่แล้วอันตรายอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง อีกอย่างหนึ่ง การแช่น้ำแข็งแบบ Wim Hof Method ไม่ใช่ การที่แบบว่า ฉันจะแช่ได้กี่นาที ฉันจะทำได้ ฉันจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ แต่การแช่น้ำแข็งแบบ Wim Hof เราจะแช่แค่ 2 นาทีเท่านั้น อุณภูมิ 0 องศาแค่ 2 นาที ในการศึกษา 2 นาทีเราได้รับประโยชน์หมดแล้ว ทั้งร่างกาย จิตใจ เราได้รับหมดแล้วค่ะ

เกินมาจากนั้นก็คือ ?

แก้ม วริศรา : เสี่ยงภาวะตัวเย็นฉับพลัน Hypothermia หลังจาก 2 นาทีขึ้นไปเริ่มเสี่ยงแล้ว

มีข้อห้ามอะไรไหม สำหรับการทำ ice bath ?

แก้ม วริศรา : ข้อห้ามหลัก ๆ เวลาเราลงแช่มันมีผลกับเส้นเลือดของเราโดยตรง คนที่ฝึกไม่ได้เลย คือคนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบเส้นเลือด ความดันสูงจนควบคุมไม่ได้ อันนี้ก็คือเกี่ยวกับเส้นเลือดหมดเลย โรคหัวใจ ลิ่มเลือด โรคเส้นเลือดในสมองแตก คนท้อง คนที่เป็น panic attack วิตกกังวล เพราะว่าอย่าลืมว่ามันคือความเครียด เวลาที่เราหายใจแล้วแช่น้ำแข็งไปอีก มันยิ่งกระตุ้น ห้ามหายใจในน้ำ หรือว่าใกล้น้ำเด็ดขาด ควรหายใจในที่ๆ ปลอดภัยเท่านั้น ควรหายใจในท่านอน บางคนแบบ การหายใจแบบ Wim Hof ช่วยให้เราแช่น้ำแข็งได้นานขึ้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ต้องควบคุมการหายใจ เพราะว่าการหายใจแบบ Wim Hof อาจจะเป็นการหายใจคล้าย ๆ กับ Hyperventilation เหมือนเราหายใจเร็วกว่าปกติ ทีนี้การหายใจแบบ Wim Hof เราจะหายใจค่อนข้างหนัก คือการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง

การแช่น้ำแข็งดีต่อร่างกายยังไง ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ?

แก้ม วริศรา : ประโยชน์โดยรวม เวลาที่เราฝึก Wim Hof Method ร่างกายของเราก็จะเป็นการเทรนเส้นเลือดทั้งตัว ทั้งการหายใจและการแช่น้ำแข็ง ถ้าเส้นเลือดเราดี ร่างกายของเราก็จะดี ช่วยลดการอักเสบ เวลาเราหายใจฝึกหายใจ ร่างกายของเราก็จะสั่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ออกมาฆ่าเชื้อโรค ภูมิคุ้มกันขอองเราก็จะดีขึ้น ปรับภูมิคุ้มกันของเราให้เหมาะสม ช่วยให้การนอนหลับของเราดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย

สามารถติดตาม  "On the way with Chom"  ได้ที่ช่องทาง Podcast : Life Dot , Facebook: Life Dot , Youtube : Life Dot  วันจันทร์ (สัปดาห์เว้นสัปดาห์) เวลา 18.00 น.

คลิกชมรายการย้อนหลัง  :  https://www.youtube.com/watch?v=y20hGbWeQ4Y&t=1344s

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.