Karoshi Syndrome โรคที่ทำให้รู้ว่า “งาน” ก็ทำให้คนตายได้จริง

คุณผู้ชายสายทำงาน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสูง หรือต้องทำงานหลายด้าน อาจจะเคยได้ยินกับประโยคที่ไม่มีใครทำงานแล้วตายมาก่อนใช่ไหม? ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคำพูดประโยคนี้ถือว่าผิด! เพราะถ้าคุณต้องเผชิญกับ Karoshi Syndrome อาจจะทำให้การทำงานหนักและไม่มีเวลาพักผ่อน กลายเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคุณได้เลยทีเดียว

พฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดอาการ Karoshi Syndrome

การเกิดภาวะ Karoshi Syndrome มีปัจจัยโดยตรง คือ การทำงานหนักอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน จึงเกิดเป็นความเครียด ความกดดัน และความวิตกกังวล จนทำให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมนแคททีโคลามีนและฮอร์โมนคอร์ติซอล ออกมาภายในกระแสเลือดมากผิดปกติ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ถ้ามีเจือปนอยู่ภายในเลือด จะส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ค่อนข้างง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังเข้าไปกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือดกับไขมันให้สูงขึ้น

ซึ่งเกิดเป็นภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ส่งผลไปสู่หลอดเลือดหัวใจกับสมองได้ง่าย โรคนี้เกิดขึ้นมากภายในประเทศญี่ปุ่น จึงถูกตั้งชื่อว่า Kiroshi ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึงการเสียชีวิตแบบกะทันหัน จนทำให้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นต้องมีการควบคุมชั่วโมงการทำงาน และมีมาตรการด้านความผ่อนคลายให้กับคนทำงานโดยเฉพาะ เนื่องมาจากภาวะนี้อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว หรือเส้นเลือดในสมองแตกได้ แล้วยังส่งผลไปสู่การฆ่าตัวตายจากความผิดปกติทางจิตที่มีความรุนแรงมากอีกด้วย

รวมอาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจเป็น Karoshi Syndrome

การเผชิญกับสภาวะ Karoshi Syndrome อาจจะมีสาเหตุหลักมาจากการทำงานหนัก และมีความกดดันสูง จนทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนจริง แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายด้านที่จะทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมทำงาน แล้วเสี่ยงต่อโรค Karoshi Syndrome ได้เช่นกัน คือ

  • คุณผู้ชายที่ชอบทำงานเกินเวลา เอางานกลับมาทำที่บ้าน หรือมีการควบกะอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ไม่มีการพักผ่อนที่เหมาะสม จะเสี่ยงต่อโรคนี้อย่างมาก
  • การทำงานเร็ว แต่ทำเป็นปริมาณมากและกลับบ้านช้า เพื่อจะเร่งทำงานในส่วนของวันต่อไป
  • ความคิดที่จมอยู่แต่กับเรื่องงาน จนไม่มีเวลาผ่อนคลายหรือคิดถึงเรื่องอื่น
  • การเก็บกดความเครียดและความกดดัน รวมไปถึงความกังวลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานไว้ภายในตัว
  • เมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่สามารถปรึกษา หรือพูดคุยเรื่องงานกับใครได้ เก็บไว้เพียงคนเดียว
  • ทำกิจกรรมในชีวิตเพียงแค่งานอย่างเดียว ไม่ทำกิจกรรมอื่น ไม่หยุด ไม่ลา
  • การนอนดึกเพื่อทำงานให้จบ แล้วตื่นแต่เช้าเพื่อไปทำงานต่อ ทำให้เกิดการพักผ่อนน้อย หรือไม่มีเวลาพักผ่อนเลย
  • การทำงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนการออกกำลังกาย และการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เพื่อจะเร่งความเร็วในการทำงาน

 

วิธีการป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อภาวะนี้

สำหรับคุณผู้ชายที่ต้องการป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องเผชิญกับโรค Karoshi Syndrome ที่ไม่ได้เสี่ยงแค่หลอดเลือดหัวใจเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ขอแนะนำวิธีการดูแลตัวเองแบบเบื้องต้น คือ การพักไม่ให้ตัวเองต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 7-8 ชั่วโมงขึ้นไป เมื่อเสร็จงานแล้วควรเก็บงานไว้ที่ทำงานเท่านั้น

เมื่อกลับถึงบ้านให้ทำกิจกรรมสุดผ่อนคลายและมีเวลาว่าง ด้วยการหยุด ลา และพักร้อนตามปกติ นอนหลับให้มีคุณภาพ หลับลึก ไม่มีการตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง  ถ้างานมีความกดดันสูงและเป็นงานที่ไม่สามารถหยุดพักได้ แต่คุณเริ่มมีอาการของ Karoshi Syndrome แล้ว แนะนำให้เตรียมมองหางานใหม่ ที่จะทำให้เกิด Work Life Balance กับตัวคุณได้มากขึ้น

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.