เวอร์ทีฟ ผนึกกำลัง NVIDIA พลิกโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ไทย รับยุค AI
ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ NVIDIA ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี AI เพื่อพัฒนาโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ล้ำสมัย ตอบโจทย์ความต้องการพลังงานและการระบายความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมรับมือกับความท้าทายด้านความยั่งยืน และเร่งขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ในประเทศไทย รอบนี้เรามีบทสัมภาษณ์พูดคุยมาให้อ่านกันพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย
ความสำคัญของการร่วมมือกับบริษัทอย่าง NVIDIA คืออะไร
การร่วมมือกันระหว่างองค์กรถือเป็นกุญแจสำคัญต่อความสำเร็จในโลกธุรกิจ เพราะเมื่อองค์กรต่างๆ รวมพลังเข้าด้วยกันจะช่วยส่งเสริมให้กับการเติบโตของธุรกิจได้ ดังนั้น เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกิดจากการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว (Accelerated Computing) และความต้องการที่เพิ่มขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เวอร์ทีฟได้จับมือกับ NVIDIA เพื่อพัฒนาโซลูชันสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์อย่างรวดเร็วของดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเฉพาะในยุคที่ AI และการประมวลผลสมรรถนะสูง (High-Performance Computing) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ ความร่วมมือนี้จะช่วยให้เวอร์ทีฟสามารถนำเทคโนโลยีล้ำสมัยของ NVIDIA มาใช้ร่วมกับความเชี่ยวชาญของตัวเองในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการระบายความร้อนที่สำคัญ และโซลูชันที่เกี่ยวข้องเพื่อการบริการที่ครบครันและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การร่วมมือนี้เน้นถึงการพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้น มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการขยาย เพื่อรองรับการเติบโตและการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้งาน โดยปรับการทำงานของกลุ่ม AI (AI Clusters) ให้สอดคล้องกับโครงสร้างความจุของดาต้าเซ็นเตอร์ ช่วยลดพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงสุด
ในเดือนมีนาคม 2567 เวอร์ทิฟได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในฐานะ Solution Advisor: Consultant Partner ในเครือข่ายพันธมิตรของ NVIDIA (NVIDIA Partner Network: NPN) ซึ่งช่วยให้เวอร์ทิฟสามารถนำเสนอประสบการณ์และโซลูชันด้านพลังงานและระบบระบายความร้อนที่ครบวงจรให้กับลูกค้าได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเวอร์ทิฟเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพรายใหญ่เพียงรายเดียวใน NPN ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้บริการด้านคำปรึกษาและคำแนะนำเชิงลึกแก่ลูกค้าที่กำลังดำเนินการติดตั้งโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยีของ NVIDIA
NVIDIA ได้ร่วมมือกับเวอร์ทิฟ และผู้นำในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งจากมหาวิทยาลัย จากองค์กรสตาร์ทอัพ และผู้จำหน่ายรายต่างๆ เพื่อออกแบบระบบระบายความร้อนที่ช่วยให้ NVIDIA และพันธมิตรได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์จากโครงการ COOLERCHIPS ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (DOE) โดยโครงการระบบระบายความร้อนขั้นสูงนี้จะดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านประสิทธิภาพและความท้าทายของระบบระบายความร้อนในดาต้าเซ็นเตอร์ในอนาคต ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยของเหลวสองรูปแบบภายในดาต้าเซ็นเตอร์ให้เป็นระบบเดียว
แอปพลิเคชัน COOLERCHIPS จะผสานการระบายความร้อนของชิปประมวลผลในรูปแบบการนำของเหลวไปสัมผัสโดยตรง (Direct-Chip Liquid Cooling) และการระบายความร้อนด้วยการแช่จุ่มในของเหลว (Immersion Cooling) เข้าด้วยกัน วิธีการนี้มีศักยภาพในการระบายความร้อนให้กับดาต้าเซ็นเตอร์แบบคอนเทนเนอร์ที่มีที่มีความหนาแน่นของแร็คเซิร์ฟเวอร์สูงกว่าปัจจุบันถึง 25 เท่า และสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิภายนอกสูงถึง 40 องศาเซลเซียส โซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้ยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าวิธีการระบายความร้อนแบบดั้งเดิมได้ถึง 20%
เมื่อความเป็นผู้นำของเวอร์ทิฟในด้านโซลูชันพลังงานและการระบายความร้อน ผสานเข้ากับแพลตฟอร์มล้ำสมัยของ NVIDIA จะช่วยตอบสนองความต้องการของแอปพลิเคชันที่ต้องใช้การประมวลผลในระดับสูงที่สุด และสนับสนุนการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
อะไรคือความท้าทายในเรื่องความยั่งยืนและประสิทธิภาพการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยในปี 2567 รวมถึงวิธีการที่จะสามารถช่วยจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการใช้ข้อมูลของ AI ได้อย่างไร
ด้วยความก้าวหน้าและการนำ AI มาใช้อย่างรวดเร็วทั้งในกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ขนาดใหญ่ (Hyperscalers) และองค์กร ภาครัฐ และเอกชน มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กได้ประกาศว่า ภายในสิ้นปี 2567 ทาง Meta จะลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการติดตั้งชิปประมวลผลกราฟิกสำหรับ AI และการคำนวณสมรรถนะสูง GPU NVIDIA รุ่น H100 จำนวน 350,000 ชุด ปัจจุบัน ความหนาแน่นของแร็คที่ระดับ 40 กิโลวัตต์ (kW) ต่อแร็ค ถือเป็นขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน AI แต่ในอนาคตอันใกล้ ความหนาแน่นที่มากกว่า 100 กิโลวัตต์ต่อแร็ค จะกลายเป็นมาตรฐานทั่วไปในโครงการขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องการการเพิ่มขีดความสามารถของระบบพลังงานทั้งหมด
ตั้งแต่โครงข่ายไฟฟ้า (Grid) จนถึงชิปที่อยู่ในแต่ละแร็ค เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นั่นหมายความว่าดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยจะยังคงเพิ่มการใช้พลังงาน ทั้งสำหรับการประมวลผลและระบบระบายความร้อน ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยสูงถึง 36,699 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นอันดับสามของโลก และถือเป็นสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559 รวมถึงเป็นครั้งที่สิบในรอบแปดปีที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด แม้ว่าอัตราส่วนสำรองไฟฟ้าของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่มั่นคงที่ 25.8% เมื่อเทียบกับเป้าหมาย แต่กระทรวงพลังงานยังคงติดตามสถานการณ์สำรองไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด
ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ขนาดของโครงข่ายไฟฟ้าที่จำกัด และปัญหาด้านเสถียรภาพ เป็นอุปสรรคต่อการผสมผสานพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้ในระบบไฟฟ้า ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานและความผันผวนของตลาด ศูนย์ข้อมูลในประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ความชื้นและความร้อนที่สูงขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดจะทำให้อุปกรณ์ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิที่สูงเพิ่มขึ้น และเสี่ยงต่อความเสียหายของอุปกรณ์ที่ใช้งาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายต่อความยั่งยืนและประสิทธิภาพพลังงานของประเทศไทย
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ การนำเทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยของเหลวมาใช้ในพื้นที่ศูนย์ข้อมูล (Data Center White Space) และในห้องเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรในอนาคต จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในอนาคตสำหรับการระบายความร้อนด้วยของเหลว เนื่องจากวิธีการระบายความร้อนแบบดั้งเดิมไม่สามารถจัดการกับความร้อนที่เกิดจากการประมวลผล AI บน GPU ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจ่ายพลังงานและระบายความร้อนให้กับฮาร์ดแวร์ AI จึงมีความสำคัญอย่างมาก การออกแบบระบบให้สามารถรับมือกับความท้าทายใหม่นี้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและไม่อาจมองข้ามได้
การผนวกเทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยของเหลวสำหรับเซิร์ฟเวอร์แร็คมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับรองการจ่ายพลังงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ การกระจายสารหล่อเย็น (coolant distribution) ระบบระบายความร้อนที่เชื่อถือได้จะช่วยรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ด้วยระบบเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ที่ได้รับการพัฒนา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ข้อมูลสามารถมั่นใจได้ว่ากลไกการระบายความร้อนจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีการหยุดชะงักในระหว่างการขัดข้องของไฟฟ้า เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจ่ายพลังงานอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมการประมวลผลความหนาแน่นสูง
AI สามารถนำมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานล่วงหน้า (Pre-Engineered Infrastructure) เพื่อรองรับความต้องการด้านการระบายความร้อนและพลังงานที่สูงขึ้นของระบบไอทีที่ใช้การประมวลผลแบบเร่งความเร็ว (Accelerated Computing) นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีการระบายความร้อนล่าสุดมาใช้ในระบบ AI และการประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมหาศาล เช่น แผงแลกเปลี่ยนความร้อนที่ติดตั้งด้านหลังแร็ค (Rear Door Heat Exchangers) การระบายความร้อนด้วยของเหลวโดยตรงที่ชิป (Direct-to-Chip Liquid Cooling) และเครื่องกระจายสารหล่อเย็น (Coolant Distribution Units หรือ CDUs) รวมถึงการใช้เครื่องทำความเย็นแบบใช้พลังงานจากอากาศภายนอก (High-Capacity Free-Cooling Chillers) และโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบโมดูลาร์ที่ใช้ระบบน้ำเย็น (Chilled Water-Based Prefabricated Modular Data Centers) ที่มีความจุสูง ซึ่งทั้งหมดนี้มีบทบาทสำคัญในการรองรับความต้องการของดาต้าเซ็นเตอร์สมัยใหม่
ยกตัวอย่าง โซลูชันโครงสร้างพื้นฐานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ความหนาแน่นสูงของเวอร์ทีฟ (Vertiv™ 360AI) นำเสนอระบบโมดูลาร์ที่สามารถติดตั้งได้โดยไม่ต้องใช้พื้นที่เดิมที่มีอยู่ ช่วยให้องค์กรสามารถจ่ายพลังงานและระบายความร้อนสำหรับระบบ AI ได้อย่างง่ายดาย Vertiv™ 360AI มาพร้อมกับโซลูชันครบวงจร ทั้งด้านพลังงาน การระบายความร้อน และการบริการ ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนจากการปฏิวัติ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โซลูชันที่ถูกออกแบบล่วงหน้าช่วยลดความซับซ้อนในการออกแบบ และสามารถลดเวลาในการติดตั้งได้ถึง 50% ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน AI ในทุกขนาด ตั้งแต่โซลูชันสำหรับแร็คที่ใช้ในโครงการนำร่อง (pilot test) และ Edge AI ไปจนถึงศูนย์ข้อมูลเต็มรูปแบบสำหรับการฝึกโมเดล AI ช่วยให้องค์กรสามารถปรับใช้ระบบ AI ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โดยสรุป การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้บริการเทคโนโลยี เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้นั้น มีประโยชน์อย่างไรในการขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ในดาต้าเซ็นเตอร์ของประเทศไทย
เป็นที่คาดว่าตลาดพับบลิคคลาวด์ในประเทศไทยจะสร้างรายได้มากกว่า 1,872 ล้านดอลลาร์ ในปี 2567 โดยมีบริการ Infrastructure as a Service (IaaS) ยืนหนึ่งในตลาด การเติบโตนี้ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น ความตระหนักในบริการออนไลน์ และความสะดวกสบายของโซลูชันบนคลาวด์ การนำคลาวด์มาใช้ยังมีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาและนวัตกรรม AI ในศูนย์ข้อมูลของประเทศไทย เช่น การขยายตัวได้ตามต้องการ (Scalability), ความสามารถด้าน AI และ Machine Learning ที่ล้ำสมัย, การปรับปรุงด้านความปลอดภัย, และ การลดต้นทุนการดำเนินงาน
บริการคลาวด์มักมาพร้อมกับความสามารถด้านการวิเคราะห์ขั้นสูงและ Machine Learning ในตัว ซึ่งช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนาและการใช้งาน AI พร้อมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมในหลากหลายภาคส่วน นอกจากนี้ การใช้โซลูชันคลาวด์ยังช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ ทำให้สามารถนำงบประมาณไปลงทุนในงานวิจัยและพัฒนา AI ได้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่ยังสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืน ด้วยการปรับใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและลดการใช้พลังงานภายในดาต้าเซ็นเตอร์
ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางด้าน AI และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในปี 2570 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ยังได้ออกนโยบาย “Cloud First” เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลาง AI ในภูมิภาค การผสานเทคโนโลยีคลาวด์และ AI จะมีบทบาทสำคัญในการรักษาความสามารถในการแข่งขันในโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากการใช้งานแอปพลิเคชัน AI ต่างๆ ได้เพิ่มความต้องการด้านพลังการประมวลผลที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรในประเทศจึงต้องการการสนับสนุนที่แข็งแกร่ง เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพสำหรับโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่สำคัญ ความต้องการนี้เห็นได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ไอที การธนาคาร การดูแลสุขภาพ การผลิต รัฐบาล และการศึกษา ดังนั้น การนำโซลูชันนวัตกรรมมาใช้อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตและรักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.