แคสเปอร์สกี้ จับมือ สกมช. ลงนามความร่วมมือเพิ่มขีดความสามารถความปลอดภัยไซเบอร์ของไทย
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล และสำนักงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. (The National Cyber Security Agency of Thailand - NCSA) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อร่วมกันทำงานและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย
เมื่อพิจารณาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่มั่นคงของประเทศไทยแล้ว ความเสี่ยงทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นตามการเติบโตนี้เช่นกัน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ บันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างแคสเปอร์สกี้และสกมช. ในการสร้างขีดความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การแบ่งปันความรู้ การสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ การแลกเปลี่ยนทางเทคนิค และโครงการริเริ่มร่วมกันอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างการปกป้องไซเบอร์สเปซของประเทศไทย
นายยูจีน แคสเปอร์สกี้ ซีอีโอของแคสเปอร์สกี้ กล่าวถึงบันทึกความเข้าใจดังกล่าวว่า “ประเทศไทยเปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่อาชญากรไซเบอร์ก็ปรับปรุงเทคนิคการโจมตีของตนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างการป้องกันทางไซเบอร์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงรู้สึกตื่นเต้นที่จะขยายความร่วมมือกับสกมช. เพื่อสร้างโลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นที่จะขยายความพยายามของเราในการสร้างเสริมขีดความสามารถ”
นางสาวจีนี่ กัน ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการของรัฐและนโยบายสาธารณะ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกีและแอฟริกา กล่าวว่า “บันทึกความเข้าใจฉบับนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากความร่วมมืออันยาวนานระหว่างสกมช. และแคสเปอร์สกี้ ด้วยการลงนามบันทึกความเข้าใจอย่างเป็นทางการ เราหวังว่าจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของเราให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ผ่านการแลกเปลี่ยนที่บ่อยขึ้น ซึ่งจะเสริมสร้างความสามารถของ สกมช. ในการจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทย”
พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า “ตัวเลขภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทยในปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 114.25% จากปีก่อน ภัยความเสี่ยงสามอันดับแรก ได้แก่ การแฮ็กเว็บไซต์ การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เผยแพร่
และเว็บไซต์ปลอม หน้าที่ความรับผิดชอบของเราไม่เพียงแต่กำหนดนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบรรเทาภัยคุกคามและการดำเนินคดีกับอาชญากรไซเบอร์อีกด้วย ทั้งสกมช. และแคสเปอร์สกี้ต่างมุ่งมั่นสร้างอนาคตที่มีการทำงานร่วมกันเป็นรากฐานสำคัญของนวัตกรรมและความเป็นเลิศในโลกดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว”
พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า “ผมยินดีที่ได้เห็นความร่วมมือระหว่างสกมช. กับแคสเปอร์สกี้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ก่อนการลงนามบันทึกความเข้าใจ แคสเปอร์สกี้ได้มีส่วนร่วมในงานของเรามากมาย รวมถึงการบรรยายสาธารณะของคุณยูจีน แคสเปอร์สกี้ เรื่องภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์สำหรับโลกดิจิทัลที่ปลอดภัย ในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ตลอดจนโครงการสร้างขีดความสามารถทางไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้แก่บุคลากรของ สกมช. ซึ่งครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น Cyber Threat Intelligence และ Adversary Attack Emulation”
ก่อนหน้านี้บุคลากรของ สกมช. ได้เดินทางไปเยี่ยมชม Transparency Center หรือศูนย์โปร่งใสของแคสเปอร์สกี้ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2565 และได้รับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติทางวิศวกรรมของแคสเปอร์สกี้ กฎการตรวจจับภัยคุกคาม และการอัปเดตซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ยังได้รับเกียรติจากพลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ ขึ้นพูดในงาน Kaspersky's Security Analyst Summit (SAS) 2023 ซึ่งได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเรื่องกฎระเบียบจากมุมมองของหน่วยงานกำกับดูแล และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้ร่วมงาน
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.