อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยโดนมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีมากที่สุด

Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผย บทความทบทวนเหตุการณ์มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และรายงานการรับมืออุบัติการณ์ประจำปี 2567 โดยมีการศึกษาโพสต์ต่างๆ ในตลาดมืดขายข้อมูลจำนวน 3,998 โพสต์จากกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่หลายกลุ่ม ทั้งนี้ตลาดมืดขายข้อมูลเป็นแพลตฟอร์มที่กลุ่มคนร้ายใช้ในการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกโจรกรรมเพื่อบีบบังคับเหยื่อให้จ่ายค่าไถ่ 

ข้อมูลที่น่าสนใจจากการสืบสวนครั้งนี้: ในปี 2566 Unit 42 พบจำนวนการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ในลักษณะการกรรโชกหลากหลายรูปแบบเพิ่มขึ้น 49% ทั่วโลกเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยภาคอุตสาหกรรมในไทยที่โดนโจมตีมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคก่อสร้าง การขนส่งและโลจิสติกส์ และภาคการผลิต ส่วนมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่สร้างปัญหามากที่สุด คือ LockBit 3.0 ที่ถูกใช้ในการโจมตีองค์กรประมาณ 23% หรือราว 928 แห่ง จากทั้งหมด 3,998 โพสต์ในตลาดมืดขายข้อมูลทั่วโลกในปี 2566 อีกทั้ง LockBit 3.0 ยังเป็นกลุ่มที่สร้างปัญหามากที่สุดในประเทศไทยในปี 2566 โดยมีเหยื่อทั้งหมด 19 ราย

 

ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศกลุ่มอินโดจีนของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า “ภาคการก่อสร้าง รวมถึงภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และภาคการผลิต เป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนมีการเติบโตสูงในช่วงที่ผ่านมา เห็นได้จากเมกะโปรเจ็คมากมายที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ อาทิเช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง”

ดร.ธัชพล กล่าวเสริมว่า “แฮคเกอร์โจมตีโดยไม่เจาะจงเป้าหมาย โดยติดตามจากช่องทางการไหลเวียนของเงิน และช่องโหวที่มีการป้องกันน้อยที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ในไทยอาจยังไม่มีระดับความปลอดภัยที่แข็งแรงเพียงพอ และมีพื้นที่การโจมตีที่กว้างขวางมากขึ้นเนื่องจากมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเตรือข่ายจำนวนมากขึ้น โดยทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุให้อุตสาหกรรมดังกล่าวตกเป็นเป้าการโจมตีของแฮคเกอร์ ซึ่งการโจมตีจะถูกยกระดับสูงขึ้นเมื่อมีจำนวนเงินและการเคลื่อนไหวที่ดึงดูด”

จำนวนโพสต์ในตลาดมืดขายข้อมูลมีมากขึ้นเพราะเกิดการเจาะระบบผ่านช่องโหว่ที่เพิ่งค้นพบใหม่หรือช่องโหว่ซีโรเดย์ (zero-day) เช่น MOVEit Transfer SQL Injection และ GoAnywhere MFT 

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานบ่งชี้ด้วยว่า จำนวนการโจมตีพุ่งสูงขึ้นโดยไม่มีแบบแผน ดังปรากฏในรายงานของตลาดมืดขายข้อมูลจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ อาจสอดคล้องกับช่วงเวลาที่กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่เริ่มการโจมตีผ่านช่องโหว่บางอย่าง

รายงานการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42: ความเร็วในการลอบขโมยข้อมูลและการหันไปใช้ช่องโหว่เพื่อเจาะระบบ

Unit 42 วิเคราะห์อุบัติการณ์กว่า 600 รายการจากองค์กร 250 แห่งใน รายงานการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42 ประจำปี 2567 โดยการสืบสวนครั้งนี้ไม่เพียงวิเคราะห์โพสต์ต่างๆ ในตลาดมืดขายข้อมูลจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่เท่านั้น แต่ยังตรวจสอบจำนวนกรณีปัญหาในภาพรวมทั้งหมดด้วย อีกทั้งยังพบด้วยว่าคนร้ายใช้เทคนิคฟิชชิงลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งที่เคยเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมในอดีต 

จำนวนการฟิชชิงลดลงเหลือเพียง 17% ในปี 2566 จากเดิมที่อยู่ราว 33% ของอุบัติการณ์ที่มีการลอบเข้าสู่ระบบครั้งแรก นั่นหมายถึงว่าอาชญากรไซเบอร์ได้ลดความสำคัญของฟิชชิง และหันไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงวิธีลอบขโมยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คนร้ายที่มีความล้ำหน้ากำลังเลิกใช้แนวทางฟิชชิงแบบเดิม โดยเปลี่ยนไปใช้วิธีการแบบอัตโนมัติที่สังเกตได้ยากในการลอบเจาะช่องโหว่ของระบบ ตลอดจนการใช้รหัสผ่านต่างๆ ที่รั่วไหลออกมาก่อนหน้านี้

 

ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ จากรายงานฉบับนี้:

  • คนร้ายใช้เทคนิคที่ซับซ้อนขึ้นในการเข้าถึงระบบครั้งแรกผ่านวิธีการต่างๆ: การเจาะระบบผ่านช่องโหว่ซอฟต์แวร์และ API (Application Programming Interface) ค่อยๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยใช้เป็นช่องทางลอบเข้าระบบครั้งแรกคิดเป็น 38.60% ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 28.20% ในปี 2565 
  • คนร้ายกวาดข้อมูลแบบไม่เจาะจงเป้าหมาย: คนร้ายในอุบัติการณ์ 93% กวาดข้อมูลแบบไม่เลือก โดยไม่ได้ค้นหาข้อมูลอย่างเจาะจง เพิ่มขึ้นจาก 81% ในปี 2565 ที่มีการโจรกรรมข้อมูลแบบไม่เจาะจงเป้าหมาย ขณะที่ในปี 2564 มีกรณีดังกล่าวไม่ถึง 67% อัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการกวาดข้อมูลในวงกว้างของอาชญากรไซเบอร์ตามที่ลอบเข้าถึงได้ โดยไม่เสียเวลาไปกับการค้นหาและลอบขโมยชุดข้อมูลอย่างเจาะจง
  • เทคนิคการกรรโชกเพื่อเพิ่มรายได้สูงสุด: อีกหนึ่งตัวเลขที่น่าสนใจก็คือ การข่มขู่มในกรณีที่มีการจ่ายค่าไถ่มีจำนวนเพิ่มขึ้น 27 เท่า นับตั้งแต่ปี 2564 ทั้งที่อัตราการข่มขู่และกรรโชกด้านมัลแวร์เรียกค่าไถ่นั้นอยู่ในระดับคงที่ตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 
  • เรียกค่าไถ่เพิ่ม แต่ได้เงินน้อยลง: ค่าเฉลี่ยของการเรียกค่าไถ่ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 650,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 695,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 3%) ตรงกันข้ามกับค่าเฉลี่ยของการจ่ายค่าไถ่ที่ลดลงจาก 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ เหลือเพียง 237,500 ดอลลาร์สหรัฐ (ลดลง 32%) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่องค์กรต่างๆ ได้ติดต่อทีมรับมืออุบัติการณ์ที่ชำนาญในการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติกันไม่มากในอดีต

สตีเวน เชอร์แมน รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดของช่องโหว คือ แฮกเกอร์ต้องการโจมตีให้สำเร็จพร้อมกับสร้างความเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่องค์กรต่างๆจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ถูกต้องและแม่นยำ และควรจัดลำดับความสำคัญสำหรับการรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์และเครือข่ายไฮเทค ตลอดจนการเชื่อมต่อดิจิทัลและซัพพลายเชน”

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม:

Unit 42: ทบทวนเหตุการณ์มัลแวร์เรียกค่าไถ่ประจำปี 2567

Unit 42: รายงานการรับมืออุบัติการณ์ประจำปี 2567

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.