สภาฯผู้บริโภค เล็งยื่นโนติส กสทช. จี้รายงานผลควบรวมทรู-ดีแทค

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การที่มีรายงานข่าวจากสื่อมวลชนว่าทรูขอให้สำนักงาน กสทช. ทำเรื่องเสนอบอร์ดให้ลงมติลดระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการเยียวยาจาก 10 ปีเป็น 5 ปี น้้น สภาฯ อยากจะให้ความเห็นว่าปัจจุบันตลาดโทรคมนาคมก็เหลือผู้เล่นรายใหญ่เพียง 2 ราย ดัชนีการกระจุกตัวและถือว่าการควบรวมที่เกิดขึ้นทำให้ทรูและดีแทคถือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด และแม้บอร์ด กสทช.จะลงมติให้ตงแบรนด์ทรูและดีแทคไว้ 3 ปี ส่วนตัวไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์ใดกับผู้บริโภคเพราะเหมือนเป็นวาระกรรมที่เขียนไว้เท่านั้น เพราะอัตราค่าบริการ โปรโมชั่น แพคเก็จ และการจ่ายเงิน ช่องทางการจ่ายบิลก็เป็น ช้อปเดียวกันทั้งหมด

ภายในสัปดาห์นี้ สภาฯ จะส่งหนังสือทวงถามความคืบหน้า (Notice) ให้กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. ทำรายงานการบังคับใช้มาตรการเฉพาะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภายหลังการรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TUC) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTN) หลังจากที่ส่งให้ส่งภายใน 60 วันตั้งแต่เมื่อต้นปี 2567 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เคยได้รับรายงานใดๆ ตอบกลับจากทาง กสทช.เลย

นายอิฐบูรณ์ เสริมว่า พบประเด็นที่สำคัญ คือ กสทช. ต้องมีการปฎิรูปการพิจารณาการควบรวบธุรกิจใหม่ให้เป็นมาตรฐาน โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์การพิจารณาตามกฎหมายในต่างประเทศที่จะต้องนำมาตรการไปจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ประชาชน ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น อีกทั้งยังต้องมีการกำกับติดตามให้ทรูและดีแทคปฏิบัติตามข้อกังวลและเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะให้ครบถ้วนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตามแนวทางของคณะกรรมการ กสทช. ที่กำหนดไว้หลังอนุญาตให้ควบรวมกิจการ

รองเลขาธิการสภาฯ กล่าวอีกว่า สภาฯอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคพ.ศ. 2562 มาตรา 14 (3) ให้อำนาจสภาฯทำรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค ไปยังหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ แต่จนถึงขณะนี้ กสทช.ก็ไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งประเด็นตรงนี้ ตนอยากจะพุ่งเป้าไปที่สำนักงาน กสทช. เพราะเป็นเหมือนผู้รับผิดชอบตามมติที่บอร์ดกสทช.แต่จากทุกคนก็ทราบดี ปัญญาภายในขององค์กร ที่มีสำนักงาน กสทช. ทำตัวเป็นเพียงคนส่งสารไม่ใช่คนไปกำกับดูแล และทำตามมติบอร์ดอย่างเข้มงวดและจริงจัง

ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากการกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. ส่งผลต่อผู้บริโภคและประเทศชาติ 

อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ เกิดปัญหาภายในองค์กร จากที่ปรากฏมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช. 1001/63 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เรื่อง การปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจ แจ้งเลขาธิการ กสทช. เพื่อให้แจ้งพนักงานสำนักงาน กสทช. ทราบและถือปฏิบัติ โดยส่งจากประธาน ถึงกรรมการ กสทช.ทุกคน มีการย้ำชัดว่า สำนักงานต้องฟังคำสั่งของประธาน กสทช.แต่เพียงผู้เดียว หากกรรมการ กสทช. ท่านใดประสงค์จะให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการใด ๆ ขอให้ทำเป็นหนังสือถึงประธาน กสทช. เพื่อจะได้พิจารณามอบหมายตามสายบังคับบัญชาต่อไป 

เรื่องดังกล่าว อาจจะเป็นมูลเหตุทำให้เกิดปัญหา ที่ประธาน กสทช.แทรกวาระ 4.23 เรื่อง รายงานการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการเฉพาะกรณีการรวมธุรกิจขึ้นมาพิจารณา โดยไม่ได้นำผลการศึกษามาเสนอในที่ประชุม แต่กลับนำเอกสารขอยกเลิกเงื่อนไขมาตรการหลังควบรวมกิจการทรู-ดีแทค มาให้ กรรมการ กสทช. พิจารณาแทน ทั้งที่ วาระต้องพิจารณาเกือบ 40 วาระ แต่ที่ประชุมไม่สามารถพิจารณาได้เลยแม้แต่วาระเดียว มีเพียงเรื่องแจ้งเพื่อทราบเท่านั้น จนทำให้ กรรมการ กสทช.บางท่าน ไม่พอใจกับการรวบอำนาจของประธาน กสทช. จนเกิดความขัดแย้งภายในองค์กรแห่งนี้

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.