เปิดผลการศึกษาภัยไซเบอร์ พบ SMEs ถูกโจมตี มากที่สุด

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล  การทำธุรกรรมต่างๆอยู่บนออนไลน์มากยิ่งขึ้น  รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัว มีการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัล  นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน ทั้งเป็นช่องทางในการขายและให้บริการลูกค้า  หลายองค์กรนำระบบงานภายในมาใช้งานผ่านฟอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าการรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอ จะกลายเป็นช่องโหว่ให้ถูกโจมตีเข้ามาในระบบงานได้ง่าย  

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้  เห็นถึงความจำเป็นของ SMEs ที่ต้องให้ความสำคัญกับปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยนางฐิติรัตน์  ศิริพัฒนาเลิศ หัวหน้าสายงานด้านความปลอดภัยระบบข้อมูลสารสนเทศ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด  ได้ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Understanding the Benefits of Security Services for SMEs” เผยวิสัยทัศน์และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์  พร้อมนำเสนอมุมมองเรื่องการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในธุรกิจ SMEs  มูลค่าความเสียหายจากการถูกโจรกรรมแนวทางการป้องกันและวิธีการรับมือ  รวมถึงตัวช่วยสำคัญในการจัดการกับภัยคุกคามนี้  ให้กับผู้ประกอบการและผู้ร่วมงานที่สนใจในงาน DigiTech ASEAN Thailand 2023 ณ อาคาร 7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้ 

ผลการศึกษาธุรกิจขนาดเล็กมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ถึง 3 เท่า (ข้อมูลจาก Kaspersky) ซึ่งธุรกิจ SMEs มากกว่า 51% มองว่า ความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องขององค์กรขนาดใหญ่  ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผู้โจมตีจึงพุ่งเป้าไปยังธุรกิจ SMEs ทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่งผลให้สูญเสียทั้งด้านการเงิน  ระบบการทำงานหยุดชะงัก ทำให้ธุรกิจต้องสะดุด สูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ  กระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงเสียลูกค้าอีกด้วย  

จากข้อมูลของ McKinsey เมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 พบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา  47% ของ SMEs ไทยที่ถูกโจมตี  สร้างความเสียหายให้ธุรกิจมูลค่าถึง 500,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 18 ล้านบาท)  และอีก 28% ได้รับความเสียหายถึง 1 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 35 ล้านบาท) หรือมากกว่านั้น   โดยมีสาเหตุสำคัญคือ 

•    ระบบรักษาความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจจับหรือป้องกันการโจมตีได้  

•    ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการป้องกัน 

•    พนักงานในองค์กรไม่ได้มีความรู้เท่าที่ควร 

•    ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยไซเบอร์  

การรับมือของ SMEs เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลการโจมตีจากระยะไกล  เจาะเข้าระบบและขโมยข้อมูลออกไป เป็นวิธีการที่ส่งผลกระทบกับองค์กรในไทยมากที่สุดถึง 60% ผู้โจมตีใช้เวลาเพียง 84 นาที องค์กรจะปลอดภัยจากการถูกการโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ จำเป็นต้องและต้องทำสิ่งเหล่านี้

•    ตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติให้เจอภายใน 1 นาที   

•    หาสาเหตุให้ได้ภายใน 10 นาที 

•    ต้องหยุดหรือตัดกระบวนการทุกอย่างให้จบภายใน  1 ชั่วโมง 

•    มีเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการเจาะข้อมูลที่ทันสมัย 

•    ศึกษากฎระเบียบต่างๆ  

•    ให้ความรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์แก่บุคลากรในองค์กร 

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้ ดำเนินงานภายใต้  ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป  มีวิสัยทัศน์ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้องค์กรในประเทศไทย  ให้มีศักยภาพสูงพร้อมรองรับโลกยุคดิจิทัลได้   โดยได้นำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านดิจิทัล ช่วยให้องค์กรสามารถรับมือเหตุการณ์ภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที  ด้วยบริการศูนย์บริการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (SOC) ให้บริการที่ครอบคลุมครบวงจร 

•    เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน 

•    มีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและกระบวนการปฏิบัติงานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล 

•    เมื่อพบความผิดปกติ  สามารถวิเคราะห์ และแจ้งเตือนลูกค้าในกรณีเกิดเหตุต้องสงสัยได้ทันที  รวมถึงช่วยจัดการสถานการณ์ให้กลับมาเป็นปกติ  

•    ประเมินค่าความเสี่ยงขององค์กรจากระบบการให้บริการ  มีช่องโหว่และความเสี่ยงอะไรบ้าง  เรียงลำดับตามความสำคัญ

•    นำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  วิเคราะห์ด้วย machine learning เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการโจมตี  

•    พัฒนาและอัปเดตเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ๆ อยู่ตลอด ป้องกันความเสียหายจากการที่ธุรกิจต้องหยุดให้บริการ สร้างความเชื่อมั่นให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.